สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารก และการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด
Keywords:
สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส, ความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารก, การเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาAbstract
การเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอดมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อภาวะสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจของบิดา มารดา และบุตร การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง สัมพันธภาพระหว่างคู่สมรส ความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารก และการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เป็นบิดาครั้งแรก ที่มีบุตรอายุ 6-8 สัปดาห์ จำนวน 102 ราย เก็บรวบรวมข้อมูล ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างคู่สมรสของ พัชรินทร์ เราจุติธรรม (Raojutitham, 2006)แบบสอบถามความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารกดัดแปลงมาจากแบบสอบถามความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารก ของเยาวลักษณ์ แฉขุนทด (2539) และแบบสอบถามการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด ของ ศุภกร ไชยนา และนันทพร แสนศิริพันธ์ (ศุภกร ไชยนา, 2558) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เชิงอันดับสเปียร์แมน
ผลการวิจัยพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างคู่สมรสมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .58 , p < .01) และความรักใคร่ผูกพันระหว่างบิดากับทารกมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูง กับการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .51 , p < .01)
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนการพยาบาล เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเข้ามามีส่วนร่วมของบิดาในระยะหลังคลอด
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว