การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในพยาบาลฉุกเฉิน
Keywords:
การปฏิบัติของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย, ความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย, ทัศนคติเกี่ยวการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย, พยาบาลฉุกเฉิน, ผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายAbstract
การดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายได้รับการยอมรับว่าเป็นบทบาทสำคัญของพยาบาล อย่างไรก็ตามพบว่า พยาบาลฉุกเฉินมีการปฏิบัติในเรื่องนี้น้อย ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพยาบาลฉุกเฉิน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยตรวจฉุกเฉิน โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ ตติยภูมิ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนจำนวน 6 โรงพยาบาลและคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีเลือกแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 119 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย (2) แบบประเมินความรู้ของพยาบาลฉุกเฉินเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย (3) แบบประเมินทัศนคติของพยาบาลฉุกเฉินเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98, 0.81, และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า
- พยาบาลฉุกเฉินมีการปฏิบัติและมีความรู้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 52.94 และ 64.71 ตามลำดับ และมีทัศนคติที่ดีต่อการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายคิดเป็นร้อยละ 81.49
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายของพยาบาลฉุกเฉินในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.26, p < 0.01) และปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้านทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของพยาบาลฉุกเฉินในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.31, p < 0.01)
ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ความรู้และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายของพยาบาลฉุกเฉิน ซึ่งสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการส่งเสริมให้พยาบาลมีความรู้และทัศนคติที่ดี เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายในหน่วยตรวจฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว