คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Keywords:
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์, มุมมองของผู้ใช้บัณฑิต, การพยาบาลAbstract
มุมมองของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณลักษณะบัณฑิตสะท้อนคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษาของสถาบันการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อบัณฑิตทุกระดับที่สำเร็จการศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในประเด็นของ 1) บัณฑิตที่พึงประสงค์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) มาตรฐานผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ สาขาพยาบาลศาสตร์ และ 3) สมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (เฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้การวิจัยได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิตของผู้สำเร็จการศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ประจำปีการศึกษา 2556-2557 จำนวน 306 คน แยกเป็นผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรี 187 คน ปริญญาโท 114 คน และปริญญาเอก 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามมุมมองของผู้ใช้บัณฑิตที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94, .96 และ .79 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์แห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่แสดงออกทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอกโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.88, S.D.=.58, =3.94, S.D.=.41, =3.85, S.D.=.50) ตามลำดับ ในขณะที่ผู้ใช้บัณฑิตระดับปริญญาตรี โท และเอกมีความต้องการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.64, S.D.=.40, =4.63, S.D.=.30, =4.83, S.D.=.25) ตามลำดับ
2. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามแนวคิดมาตรฐานการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิ สาขาพยาบาลศาสตร์ บัณฑิตระดับปริญญาตรี โท และเอกมีระดับผลการเรียนรู้ที่แสดงออกโดยรวมอยู่ในระดับมาก (=3.54, S.D.=.56, =3.98 S.D.=.53, =3.95 S.D.=.71) ตามลำดับ ในขณะที่ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการระดับผลการเรียนรู้ของบัณฑิตโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.51, S.D.=.42, =4.63, S.D.=.39, =4.85, S.D.=.33)
3. คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ตามสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการ ผดุงครรภ์ ระดับปริญญาตรีอยู่ในระดับปานกลาง ( =3.94, S.D.=.57) ในขณะที่ผู้ใช้บัณฑิตมีความต้องการอยู่ในระดับมาก ( =4.49, S.D.=.43)
ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนให้ตอบสนองตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตเพื่อให้บัณฑิตสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว