ปัจจัยทำนายการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ของบุคลากรสุขภาพ

Authors

  • สุนทรา พลเจริญ โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
  • จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1, การรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1, ปัจจัยทำนาย, บุคลากรสุขภาพ

Abstract

          การติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ของบุคลากรสุขภาพเป็นปัญหาด้านสุขภาพอย่างหนึ่ง และการป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ที่มีประสิทธิภาพ คือ การรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพยากรณ์ (predictive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค  การรับรู้ความ รุนแรงของโรค การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค ปัจจัยส่วนบุคคล และ สิ่งชักนำให้ปฏิบัติต่อการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1ของบุคลากรสุขภาพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจำนวน 1,038 คน ตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2556 ถึงเดือน เมษายน พ.ศ. 2557 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.86 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติการถดถอยพหุโลจิสติกส์ (multiple logistic regression) 

          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่สามารถทำนายการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ของบุคลากรสุขภาพมี 4 ปัจจัย คือ การเคยรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (OR=16.22, 95%CI=10.21-25.75, p<.001), การรับรู้ประโยชน์ของการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (OR=1.04, 95%CI=1.00-1.06, p=0.01), การรับรู้อุปสรรค (OR=0.97, 95%CI:= 0.95-0.98, p<.001) และสิ่งชักนำให้ปฏิบัติ (OR=1.05, 95%CI:= 1.02-1.09, p<.001)

           ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่บุคลากรด้านสุขภาพ สามารถใช้ในการวางแผนเพื่อกระตุ้นให้บุคลากรสุขภาพรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ในปีต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Published

2016-12-01

How to Cite

พลเจริญ ส., จิตรีเชื้อ จ., & เกษตร์ภิบาล น. (2016). ปัจจัยทำนายการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ของบุคลากรสุขภาพ. Nursing Journal CMU, 43(5), 196–206. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/93407