ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัด

Authors

  • สุณีย์ เอกนุช โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช จังหวัดกรุงเทพมหานคร
  • วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ทิพาพร วงศ์หงษ์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การส่งเสริมการจัดการตนเอง, อุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัด

Abstract

     การติดเชื้อแทรกซ้อน ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดจะส่งผลกระทบรวดเร็วและรุนแรงมาก การวิจัยเชิงกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามเกณฑ์จำนวน 36 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 18 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็นเครื่องมือดำเนินการวิจัยได้แก่ แผนส่งเสริมการจัดการตนเองสร้างขึ้นตามแนวคิดการจัดการตนเองของลอริกและฮอลแมน (Lorig & Holman, 2003) คู่มือการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัดสร้างขึ้นตามแนวทางของศูนย์ควบคุมโรคสหรัฐอเมริกา (CDC, 2011) และเครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกจำนวนครั้งของการติดเชื้อ แบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแคว์ และสถิติค่าที

     ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังได้รับการส่งเสริมการจัดการตนเอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อเท่ากับ 14 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.55 มากกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อเท่ากับ 6 คะแนน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.68 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 มีอุบัติการณ์การติดเชื้อในกลุ่มทดลองเท่ากับ 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมเกิดอุบัติการณ์การติดเชื้อ 4 ครั้ง ซึ่งมากกว่ากลุ่มทดลอง 2 เท่า

     การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า การส่งเสริมการจัดการตนเองส่งผลให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว
และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัดมีการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อถูกต้องมากขึ้น ดังนั้นควรนำการส่งเสริมการจัดการตนเองไปประยุกต์อย่างต่อเนื่องเพื่อการป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองต่อไป

 

Downloads

Published

2016-12-01

How to Cite

เอกนุช ส., เลิศวัฒนวิลาศ ว., & วงศ์หงษ์กุล ท. (2016). ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อและอุบัติการณ์การติดเชื้อในผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวและโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ได้รับเคมีบำบัด. Nursing Journal CMU, 43(5), 207–216. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/93409