ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่น

Authors

  • วรัญญา มูลธิโต โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
  • พรรณพิไล ศรีอาภรณ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฉวี เบาทรวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด, การสนับสนุนทางสังคม, ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่หลังคลอด, มารดาวัยรุ่น, ระยะหลังคลอด

Abstract

     การเป็นมารดาวัยรุ่นถือเป็นเหตุการณ์สำคัญในชีวิต ในระยะหลังคลอดมารดาวัยรุ่นต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ที่อาจส่งผลต่อความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่น การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าหลังคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เป็นมารดาวัยรุ่นอายุต่ำกว่า 18 ปี ที่มาตรวจหลังคลอด
ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลปทุมธานี ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2558 จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่นของลอกส์ดอน (2009) ฉบับดัดแปลงโดยคณะผู้วิจัย แบบประเมินภาวะซึมเศร้า
     หลังคลอดของเอดินเบอระ สร้างโดย ค๊อกซ์ และคณะ (1987) ฉบับภาษาไทยโดย ปิตานุพงศ์,
เลียบสื่อตระกูล และ วิทยานนท์ (2007) และแบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอดของนลินี สิทธิบุญมา, กรรณิการ์ กันธะรักษา และ บังอร ศุภวิทิตพัฒนา (2558) ที่สร้างจากแนวคิดการสนับสนุนทางสังคมของเฮาส์ (1981) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า

  1. มารดาวัยรุ่นมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ร้อยละ 42.35 และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.80 (S.D. = 4.95)
  2. มารดาวัยรุ่น ร้อยละ 82.35 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 คะแนน (S.D. = .57)

      3. มารดาวัยรุ่น ร้อยละ 54.12 มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอยู่ในระดับมาก และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.05 (S.D. = .32)

     4. ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.256, p < 0 .05)

     5. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .215, p < 0.05)

     ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลผดุงครรภ์ในการวางแผนการพยาบาล เพื่อส่งเสริมให้มารดาวัยรุ่นมีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่หลังคลอดได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Downloads

Published

2017-06-30

How to Cite

มูลธิโต ว., ศรีอาภรณ์ พ., & เบาทรวง ฉ. (2017). ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถ ในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาวัยรุ่น. Nursing Journal CMU, 44(2), 23–33. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97828