ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง

Authors

  • ปราณี จันธิมา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • สมเกียรติ ศรีธาราธิคุณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การจัดการตนเอง, กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, อ้วนลงพุง

Abstract

     ภาวะอ้วนลงพุงเป็นสาเหตุของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รอบเอวที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 เซนติเมตร จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวานได้ 3-5 เท่า ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และเศรษฐกิจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงต่อขนาดของรอบเอว โดยการให้ความรู้และสนับสนุนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุงตามแนวคิดการจัดการตนเอง ประกอบด้วยการดูแลเรื่องอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลอารมณ์  การงดสุราและสารเสพติด กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มเสี่ยงอ้วนลงพุงอายุ 45-55 ปีจำนวน 30 คนได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง ใช้ระยะเวลาในดำเนินการวิจัย 12 สัปดาห์ วัดและประเมินผลแบบกลุ่มเดียว โดยวัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบประเมินสุขภาพ แบบประเมินพฤติกรรมการกิน การออกกำลังกาย การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ ของกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติร้อยละ พิสัย ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน

     ผลการศึกษาพบว่าผู้เข้าร่วมวิจัย มีค่าเฉลี่ยของน้ำหนักลดลง 2.30 กิโลกรัม ค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายที่ลดลง 0.87  กิโลกรัม/ตารางเมตร และมีระดับความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนลงพุง การจัดการตนเองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<0.001)

     ผลของการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในกลุ่มเสี่ยงอ้วนลงพุงหรือผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมโรคที่เกี่ยวกับเมตาบอลิกได้โดยบริโภคอาหารอย่างเหมาะสม 

Downloads

Published

2017-06-30

How to Cite

จันธิมา ป., & ศรีธาราธิคุณ ส. (2017). ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ในกลุ่มเสี่ยงโรคอ้วนลงพุง. Nursing Journal CMU, 44(2), 162–171. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/97857