ความชุกของการใช้สารเสพติด และความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารเสพติดกับพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจของนักเรียนอาชีวศึกษา
Keywords:
ความชุก, การใช้สารเสพติด, นักเรียนอาชีวศึกษา, พฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจAbstract
สถานการณ์การใช้สารเสพติดตั้งแต่ปี 2549 จนกระทั่งปี 2556 ของประชากรโลกยังไม่มีแนวโน้มลดลง เช่นเดียวกับสถานการณ์ในประเทศไทยซึ่งพบว่านักเรียนอาชีวศึกษามีแนวโน้มการใช้สารเสพติดเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น งานวิจัยฉบับนี้จึงสนใจศึกษาความชุกของการใช้สารเสพติด และความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารเสพติดกับพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจทั้ง 4 องค์ประกอบ ในนักเรียนอาชีวศึกษาทั้งที่ใช้และไม่ใช้สารเสพติด วิธีการวิจัย ใช้การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ทำการศึกษาในนักเรียนอาชีวศึกษาจำนวน 581 คน (อายุ 15 – 25 ปี) ในโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนบน โดยใช้แบบสอบถามโดยให้ตอบด้วยตนเอง (ข้อมูลส่วนบุคคล และพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจ) และใช้แบบสัมภาษณ์การคัดกรองประสบการณ์การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ เช่น ความถี่ ร้อยละ Independence t-test และ binary logistic regression ผลการวิจัย ใช้การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง ทำการศึกษาในนักเรียนอาชีวศึกษาจำนวน 581 คน (อายุ 15 – 25 ปี) ในโรงเรียนอาชีวศึกษาแห่งหนึ่งของภาคเหนือตอนบน โดยใช้แบบสอบถามโดยให้ตอบด้วยตนเอง (ข้อมูลส่วนบุคคล และพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจ) และใช้แบบสัมภาษณ์การคัดกรองประสบการณ์การดื่มสุรา สูบบุหรี่ และการใช้สารเสพติด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติวิเคราะห์ เช่น ความถี่ ร้อยละ Independence t-test และ binary logistic regression ผลการวิจัย สารเสพติดที่นักเรียนอาชีวศึกษาเคยใช้อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต มีดังต่อไปนี้ ดื่มสุราร้อยละ 47.5 สูบบุหรี่ร้อยละ 36.1 ใช้กัญชาร้อยละ 9.5 และใช้เมทแอมเฟตามีนร้อยละ 8.8 สำหรับพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจของนักเรียนอาชีวศึกษาพบว่า นักเรียนมีคะแนนด้านแสวงหาการผจญภัยสูงที่สุด รองมาคือด้านแสวงหาประสบการณ์ ด้านการไม่ยับยั้งชั่งใจ และด้านความรู้สึกไวต่อความเบื่อหน่าย ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจกับการใช้สารเสพติดพบว่า คะแนนด้านการไม่ยับยั้งชั่งใจมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นผู้ใช้สารเสพติด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะ โปรแกรมป้องกันการใช้สารเสพติดในนักเรียนอาชีวศึกษาควรให้ความสำคัญกับพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจ โดยการให้โปรแกรมควรสามารถเติมเต็มความต้องการในพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจด้วย
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพยาบาลสาร
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว