ภาวะซีดในทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลอุตรดิตถ
DOI:
https://doi.org/10.1016/hscr.v37i1.256040คำสำคัญ:
หญิงตั้งครรภ์, เอชไอวี, ทารก, ภาวะซีดบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์ภาวะซีดในทารกที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์
วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบย้อนหลัง รวบรวมข้อมูลของทารกทุกรายที่เกิดจากหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอชไอวี คลอดในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในช่วงตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 ถึง 31 ธันวาคม 2563 และเป็นทารกที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาหลังจากคลอดแล้วเก็บข้อมูลพื้นฐานของทารกและมารดา ระดับความเข้มข้นเลือดของทารกและมารดา การได้รับยาต้านไวรัสหลังของทารก ผลลัพธ์ได้แก่ภาวะซีด โดยใช้ค่า Hematocrit ใช้เกณฑ์ที่ดัดแปลงมาจาก the Division of AIDS Toxicity Tables for Grading Severity of Pediatric Adverse Events 2014 ตอนแรกเกิด และหลังคลอด 1 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้วยสถิติ logistic regression
ผลการศึกษา: จากทารกทั้งหมด 135 คน พบความชุกของภาวะซีดที่อายุแรกเกิดและที่อายุ 1 เดือน 5.19 % และ 36.30%
ตามลำดับ ขนาดเม็ดเลือดแดงของมารดาที่น้อยกว่า 80 fL ขณะตั้งครรภ์มีความสัมพันธ์กับภาวะซีดของทารกที่อายุแรกเกิด
Adj. OR 11.68 (95%CI: 1.30-10.89) (p= 0.028) ในขณะที่ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซีดของทารกที่อายุ 1 เดือน ได้แก่การ
ได้รับยาต้านไวรัสสูตร AZT+3TC+NVP เพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี Adj. OR 2.18 (95%CI: 1.01-4.69) (p=0.046) และ
ประวัติมารดาติดเชื้อเอชไอวีก่อนตั้งครรภ์ เป็นปัจจัยป้องกัน Adj. OR 0.38 (95%CI: 0.18-0.82) (p=0.013)
สรุป: ความชุกของภาวะซีดในทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี ที่อายุแรกเกิด และที่อายุ 1เดือน เท่ากับร้อยละ 5.19
และ 36.30 ตามลำดับ ภาวะซีดที่อายุ 1 เดือนในทารกกลุ่มนี้ สัมพันธ์กับการรับยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากมารดาสูตร
AZT, 3TC และ NVP ขณะที่การวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีก่อนตั้งครรภ์ของมารดาเป็นปัจจัยป้องกันการเกิดภาวะซีดของทารก
ที่อายุ 1 เดือน
คำสำคัญ: หญิงตั้งครรภ์, เอชไอวี, ทารก, ภาวะซีด
References
Sundararajan S, H Rabe. Prevention of iron deficiency anemia in infants and toddlers. Pediatr Res 2021;89:63-73.
Ree IMC, Lopriore E. Updates in Neonatal Hematology: Causes, Risk Factors, and Management of Anemia
and Thrombocytopenia. Hematol Oncol Clin North Am.2019;33:521-32.
Tiruneh T, Shiferaw E, Enawgaw B. Prevalence and associated factors of anemia among full-term newborn babies at University of Gondar comprehensive specialized hospital, Northwest Ethiopia: a cross-sectional study. Ital J Pediatr 2020;46:1.
Nair KM, Fernandez-Rao S, Nagalla B, Kankipati RV, Punjal R, Augustine LF, et al. Characterisation of anemia and associated factors among infants and pre-schoolers from rural India. Public Health Nutr. 2016;19:861-71.
Engorn B FJ. The Harriet lane handbook. 20th ed. Philadelphia: Elsevier Saunders; 2015.
Annoppornchai D, Prachukthum S, Kositamongkol S. Prevalence of anemia in healthy term neonates. Thammasat medical journal. 2019;19:519-24.
Lolekha R, Boonsuk S, Plipat T, Martin M, Tonputsa C, Punsuwan N, et al. Elimination of Mother-to-Child Transmission of HIV - Thailand. MMWR Morb Mortal Wkly Rep 2016;65:562-6.
Lolekha R, Chokephaibulkit K, Phanuphak N, Chaithongwongwatthana S, Kiertiburanakul S, Chetchotisakd P, et al. Thai national guidelines for the prevention of mother-to-child transmission of human immunodeficiency virus 2017. Asian Biomed (Res Rev News) 2017;11:145-59.
U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health, National Institute of Allergy
and Infectious Diseases, Division of AIDS. Division of AIDS (DAIDS) Table for Grading the Severity of Adult and Pediatric Adverse Events, Corrected Version 2.1. [July 2017]. [cited 2022 Jan 23]. Available from: https://rsc.niaid.nih.gov/sites/default/files/daidsgradingcorrectedv21.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาศาสตร์วิจัยทางการแพทย์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ของวารสารนี้เท่านั้น และจะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นหรือส่งข้อมูลให้กับกับบุคคลอื่นใด