ความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่ม ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • Somrudee Buapom สำนักงานเทศบาลเมืองสุโขทัยธา

DOI:

https://doi.org/10.1016/hscr.v37i1.256300

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ, กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน, โรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาล เมืองสุโขทัยธานี จังหวัดสุโขทัย 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองกับการรับรู้สุขภาพความรู้ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาล เมืองสุโขทัยธานี จังหวัดสุโขทัย
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงสำ รวจศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองกับการรับรู้สุขภาพด้านสุขภาพและความรู้ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จังหวัดสุโขทัย และกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานในประชากรที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่มีระดับนํ้าตาลขณะอดอาหารมีค่าอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่าย จำ นวน 87 คน ช่วงเดือน มกราคม–มิถุนายน 2564 เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคเบาหวาน การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการดูแลสุขภาพตนเอง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา: พบว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการรับประทานอาหารมีความสัมพันธ์ทางลบกับระดับนํ้าตาลในเลือดอย่าง
มีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.341, p<.01) ความรู้เรื่องโรคมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการรับประทานอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.172, p<.05) การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร (r=-.118, p<.05) การรับรู้ความรุนแรงของโรคเบาหวานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการจัดการกับความเครียด (r= .128, p<.05) และการดูแลสุขภาพทั่วไปและการป้องกันโรคแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .115, p<.05) การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร (r= .221, p<.05) และการดูแลสุขภาพทั่วไปและการป้องกันโรคแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= .204, p<.05) การรับรู้อุปสรรคของการดูแลสุขภาพตนเองมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านการ
รับประทานอาหาร (r= -.142, p<.05) และพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= -.249, p<.01)
สรุป: ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการดูแลสุขภาพสัมพันธ์ทางตรงกับความรู้ การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์และการรับรู้อุปสรรคของการดูแลสุขภาพ เป็นข้อมูลในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันและลดโอกาสเป็นโรคเบาหวานต่อไป


คำสำคัญ: พฤติกรรมการดูแลสุขภาพ กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน

References

International Diabetes Federation; IDF Diabetes Atlas (5th) 2012, http://www.idf.org/ sites/default/files/5E_IDFAtlasPoster_2012_EN.pdf.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2558. นนทบุรี :กระทรวงสาธารณสุข;2558:1-30.

World Health Organization. Global report on diabetes. Geneva: World Health Organization;2016:1-10.

เทพกร พิทยภินัน, นิรชร ชูติพัฒนะ, สมใจ จางวาง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้2559;3(1):110-6.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย; Health Data Center: HDC (2019), https://sti.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย; รายงานประจำ ปี 2563 (Annual 2020), https://www.skto.moph.go.th/document_file/raynganyear63.pdf.

อรุณี สมพันธ์, แสงทอง ธีระทองคำ , นพวรรณ เปียซื่อ และสมนึก สกุลหงส์โสภณ. ปัจจัยทำ นายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานในผู้ที่เสี่ยงต่อเบาหวาน. รามาธิบดีสาร 2558;21(1):96-109.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดียจำกัด;2547:121-139.

ธีรารัตน์ บุญกุณะ, อุษณีย์ วรรณาลัย, สุดาวัลย์ สายสืบ, โอภาส ประมูลสิน. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานการจัดการตนเองด้านพฤติกรรมสุขภาพและระดับนํ้าตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานในอำ เภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์ 2561;10(2):17-

พิภพ ดีแพ, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม, นพนัฐ จำ ปาเทศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูงในเขตอำ เภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2562;35(3):46-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30

How to Cite

1.
Buapom S. ความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในกลุ่ม ที่มีปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี จังหวัดสุโขทัย. HSCR [อินเทอร์เน็ต]. 30 มิถุนายน 2022 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];37(1):83-95. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/hscr/article/view/256300

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)
Share |