การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการให้ยา metoclopramide ร่วมกับ ondansetron และ ยา ondansetron ในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน หลังผ่าตัด ในผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่มารับผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โดยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

ผู้แต่ง

  • pityaporn chaiboon กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลอุตรดิตถ

DOI:

https://doi.org/10.1016/hscr.v38i1.261047

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของยา metoclopramide ร่วมกับ ondansetron เปรียบเทียบกับการใช้ ondansetron เพียงอย่างเดียว ในการป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ( Post Operative Nausea and Vomiting : PONV) ในคนไข้ที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ รวมถึงผลข้างเคียงต่างๆ จากยาทั้งสองตัว
วิธีการศึกษา: ศึกษาด้วยวิธีการแบบสุ่มทำการศึกษาในผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับยา metoclopramide กับกลุ่มที่ได้รับ metoclopramide และ ondansetron ร่วมกัน ในระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 10 มกราคม 2566 เก็บบันทึกข้อมูลอัตราการเกิดและระดับความรุนแรงของภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง ยาแก้ปวดที่ใช้และภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกิดขึ้น
ผลการศึกษา: พบอุบัติการณ์ภาวะคลื่นไส้อาเจียนระหว่างผ่าตัดในผู้ป่วยกลุ่มศึกษา 2 คน (4.4%) กลุ่มควบคุม 12 คน (26.7%) โดยเมื่อเทียบการใช้ metoclopramide ร่วมกับ ondansetron (กลุ่มศึกษา) เปรียบเทียบกับ ondansetron (กลุ่มควบคุม) ในการป้องกันการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนระหว่างผ่าตัดที่ IONV score 1, 2, 3 (number need to treat) คือ 0.28, 0.20 และ 0.6 คน และ relative risk 0.07, 0.88, 0.93 ที่ 95% CI ตามลำดับ และพบอุบัติการณ์ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ในผู้ป่วยกลุ่มศึกษา 1 คน (2.2%) กลุ่มควบคุม 14 คน (31.1%) โดยเมื่อเทียบการใช้ metoclopramide ร่วมกับ ondansetron (กลุ่มศึกษา ) เปรียบเทียบกับ ondansetron (กลุ่มควบคุม) ในการป้องกันการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดที่ PONV score 1,2,3 (number need to treat) คือ 22, 100, 6 คน และคิดเป็น relative risk 0.16, 0.75, 0.08 ที่ 95% CI ตามลำดับ
สรุป: การให้ยา metoclopramide ร่วมกับ ondansetron สามารถช่วยป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในคนไข้ที่มารับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องด้วยการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ได้ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีปัจจุบันที่ใช้ ondansetron ที่ PONV score 1,2,3 (number need to treat) คือ 28, 100, 6 คน และคิดเป็น relativerisk 0.16, 0.75, 0.08 ที่ 95% CI ตามลำดับ
คำสำคัญ: ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด, การผ่าตัดคลอดโดยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง, ยาป้องกันการคลื่นไส้อาเจียน

References

Hon Sen Tan , Ashraf S Habib. The optimum management of nausea and vomiting during and after cesarean delivery.Best Pract Res Clin Anaesthesiology 2020 Dec;34(4):735-747.

Kimura M, Okamoto T, Tsukagoshi H, Sato J, Saito S. Effect of flurbiprofen, metoclopramide and droperidol for nausea and emesis during cesarean section under spinal anesthesia. J Anesth. 2011;25(5):692-7.

Rhodes VA, McDaniel RW. Nausea, vomiting, and retching: complex problems in palliative care.CA Cancer J Clin. 2001;51(4):232-52.

Balki M, Carvalho JC. Intraoperative nausea and vomiting during cesarean section under regional anesthesia. Int J ObstetAnesth. 2005;14(3):230-241.

Hamideh Pakniat, Fatemeh Lalooha, Farideh Movahed, Aynaz Boostan. The effect of ginger and metoclopramide in the prevention of nausea and vomiting during and after surgery in cesarean section under spinal anesthesia. Obstet Gynecol Sci. 2020 Mar; 63(2): 173–180.

เพชรรัตน์ เตโชฬาร และคณะ. ประสิทธิภาพการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการคันเปรียบเทียบระหว่างการให้ยา Ondansetron และ Ondansetron ร่วมกับ Dexamethasone ในการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องโดยการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนด้วยการฉีดยาชาร่วมกับมอร์ฟีนทางช่องไขสันหลัง. ชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทย; 2556.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. ประกาศราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยฉบับที่ ๓/๒๕๖๔ เรื่องแนวทางปฏิบัติสำ หรับการป้องกันและรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด; 2564.

Dasgupta M, Biswas BN, Chatterjee S, Mazumder P, Bhanja Chowdhury M. Randomized, placebo-controlled trial of granisetron for control of nausea and vomiting during cesarean delivery under spinal anesthesia. J Obstet Gynaecol India. 2012;62(4):419-23.

Jokela R. Prevention of postoperative nausea and vomiting-studies on different anti emetics, their combinations and dosing regimens. University of Helsinki (2003): 1-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

How to Cite

1.
chaiboon pityaporn. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการให้ยา metoclopramide ร่วมกับ ondansetron และ ยา ondansetron ในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน หลังผ่าตัด ในผู้ป่วยหญิงตั้งครรภ์ที่มารับผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง โดยวิธีฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังที่โรงพยาบาลอุตรดิตถ์. HSCR [อินเทอร์เน็ต]. 30 มิถุนายน 2023 [อ้างถึง 27 เมษายน 2025];38(1):36-45. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/hscr/article/view/261047

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)
Share |