การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดอาการปวดของการฉีดยาชาบริเวณ เนื้อเยื่อหลังข้อเข่าร่วมกับการฉีดยาชาบริเวณต้นขาส่วนในกับการฉีดการฉีดยาชา บริเวณต้นขาส่วนในในการผ่าตัดข้อเข่าเทียม

ผู้แต่ง

  • yuwarin kositworakitkun กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
  • อัญชลี ฉวีศักดิ์ กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลอุตรดิตถ์
  • เพชรรัตน์ เตโชฬาร กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลอุตรดิตถ์

DOI:

https://doi.org/10.1016/hscr.v39i1.267294

คำสำคัญ:

การผ่าตัดข้อเข่าเทียม, Adductor canal block, IPACK block (Interspace between the popliteal artery and the capsule of the posterior knee)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการทำ IPACK Block นอกเหนือกจาก Adductor canal block ในการลดอาการปวดหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียม
วิธีการศึกษา: หลังจากผ่านจริยธรรมวิจัยของโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ได้แบ่งผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดข้อเข่าเทียมด้วยการฉีดยาเข้า
ช่องนํ้าไขสันหลัง ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ได้รับการระงับปวดด้วยการฉีดยา Adductor canal block กลุ่มที่ 2 ได้รับ
IPACK block ร่วมกับ Adductor canal block กลุ่มละ 11 คน โดยศึกษาประสิทธิภาพในการลดอาการปวดด้วยคะแนนความ
ปวด NRS และปริมาณยามอร์ฟีนที่ได้รับเสริมในการลดอาการปวดหลังการผ่าตัดที่ 24 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังติดตามผลเรื่องการ
ทำกายภาพบำบัดว่าสามารถทำได้หรือไม่ ร่วมกับเก็บข้อมูลผลข้างเคียงจากการทำหัตถการและยาแก้ปวดที่ได้รับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า p<0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการศึกษา: คะแนนความปวดในกลุ่มที่ 2 IPACK block ร่วมกับ Adductor canal block Block มีคะแนนความปวดโดยวัดจาก Numerical rating scale (NRS) พบว่า มีคะแนนความปวดตํ่ากว่ากลุ่มที่ 1 3.82 เทียบกับ 5.09 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.039) และพบว่ามีการใช้ยาระงับปวดมอร์ฟีนเสริมหลังการผ่าตัดที่ 24 ชั่วโมง น้อยกว่า ในกลุ่มที่ 2 10.64 มิลลิกรัม เมื่อเปรียบเทียบกับ 14.55 มิลลิกรัม ในกลุ่มที่ 1 แต่ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.27) ทั้งสองกลุ่มสามารถทำกายภาพบำบัดด้วยการเดินได้ในวันที่ 1 หลังการผ่าตัด ส่วนอาการข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนพบว่าไม่
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: การทำ IPACK block ร่วมกับ Adductor canal block ช่วยในการลดคะแนนความปวดหลังการผ่าตัดข้อเข่าเทียมที่ได้รับการระงับความรู้สึกโดยการฉีดยาชาเข้าช่องนํ้าไขสันหลัง โดยไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง
คำสำคัญ: การผ่าตัดข้อเข่าเทียม, Adductor canal block, IPACK block (Interspace between the popliteal artery and the capsule of the posterior knee)

References

Jing L, Ye M, Xiao L. Postoperative pain management in total knee arthroplasty. Orthopaedic Surgery 2019;11:755-761.

Grestad U, Mathiesen O, Valentiner L, Jaeger P, Hilsted K, Jorgen B. Effect of Adductor canal block versus femoral nerve block on quadriceps stength, mobilization and pain after total knee arthroplasty. Regional anesthesia and pain medicine. 2015;40; 3-10.

Elkassabany N, Antosh S, Ahmed M, Nelson C, Israelite C, Badiola I. The risk of falls after arthoplasty with the use of femoral nerve block versus an adductor canal block: A double-blined randomized controlled study. Anesth Analgesia 2016;122:1696-703).

Kandarian B, Indelli P, Sinha S, Oluwatobi O, Rachel R, Wang, Edwark K, Kou A, Mariano. Implementation of the IPACK (interspace between the popliteal artery and the capsule of the posterior knee) block into a multimodal analgesic pathway for total knee replacement, Korean J anesthesiol 201 June 72(3): 238-244.

Fabricio A, Gomez J, Ramirez J, vaca Z, Lasso L. IPACK block: emerging complementary analgesic technique for total knee arthroplasty. Colombian journal of anesthesiologist. 2020;48(2):78-84.

Kertkiakachorn W, Kampitak W, Tanavalee A, Ngarmukos S. Adductor canal block combined with iPACK (interspace between the popliteal artery and the capsule of the posterior knee) block vs periarticular injection for analgesia after total knee arthroplasty: a randomized noninferiority study. J Arthroplasty. 2021; 36(1):122-129.e1.

Tayfun E, Korkusuz M, Bararan B, Yarimolu R, Toprak H, Bilge A, Kumru N, Dedeli I. Comparison of IPACK and periarticular block with adductor block alone after total knee arthroplasty: a randomized clinical trial. Journal of anestesia. 2022;36:276-286.

Sankineani S, Reddy ARC, Eachempati KK, Jangale A, Reddy AVG. Comparison of adductor canal block and IPACK block (interspace between the popliteal artery and the capsule of the posterior knee) with adductor canal block alone after total knee arthroplasty: a prospective control trial on pain and knee function in the immediate postoperative period. Eur J Orthop Surg Traumatol. 2018 ;28(7):1391-1395.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-26

How to Cite

1.
kositworakitkun yuwarin, ฉวีศักดิ์ อ, เตโชฬาร เ. การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการลดอาการปวดของการฉีดยาชาบริเวณ เนื้อเยื่อหลังข้อเข่าร่วมกับการฉีดยาชาบริเวณต้นขาส่วนในกับการฉีดการฉีดยาชา บริเวณต้นขาส่วนในในการผ่าตัดข้อเข่าเทียม. HSCR [อินเทอร์เน็ต]. 26 มิถุนายน 2024 [อ้างถึง 27 เมษายน 2025];39(1):31-8. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/hscr/article/view/267294

ฉบับ

บท

Original Articles (นิพนธ์ต้นฉบับ)
Share |