พืชกระท่อมกับการดูแลสุขภาพของคนไทย
คำสำคัญ:
พืชกระท่อม , การดูแลสุขภาพ , ไมทราไจนีน , บรรเทาอาการปวด , คลายเครียดบทคัดย่อ
คนไทยใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมมาเป็นเวลานาน โดยเฉพาะพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ ใน พ.ศ. 2564 มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ มีสาระสำคัญให้ปลดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษ รวมทั้งยกเลิกบทลงโทษทั้งหมดที่เกี่ยวกับพืชกระท่อม จากการศึกษาพบว่า ฤทธิ์ของพืชกระท่อมมีคุณมากกว่าโทษ และเสพติดได้ยากถ้าใช้อย่างถูกวิธี บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ นำเสนอลักษณะทางพฤกษศาสตร์และองค์ประกอบทางเคมีของพืชกระท่อม พืชกระท่อมกับกฎหมายยาเสพติด พิษวิทยาของพืชกระท่อม และพืชกระท่อมกับการดูแลสุขภาพของคนไทย จากการศึกษา พบว่าสารสำคัญในพืชกระท่อมเป็นสารกลุ่มอัลคาลอยด์ (Alkaloids) ได้แก่ ไมทราไจนีน (Mitragynine) ซึ่งพบเฉพาะในพืชกระท่อม ออกฤทธิ์คล้าย โอปิออยด์ (Opioids) และสาร เซเว่น ไฮดรอกซี่ ไมทราไจนีน (7-Hydroxy Mitragynine) ที่มีฤทธิ์ระงับปวดคล้ายมอร์ฟีน แต่มีความแรงของยาต่ำกว่า ไม่กดระบบทางเดินหายใจ นอกจากนี้ยังมีสารอัลคาลอยด์ชนิดอื่น ๆ อีกเล็กน้อย ที่ให้ประโยชน์ในการลดการปวดเมื่อย และต้านอาการอักเสบ ใบกระท่อมยังสามารถใช้รักษาอาการท้องเสีย ใช้ลดน้ำหนัก ต้านอนุมูลอิสระ รักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการไอ คลายความเครียด ต้านอาการซึมเศร้า และคลายกล้ามเนื้อลาย และตำพอกรักษาแผล แต่อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกำหนดขนาดและปริมาณการใช้อย่างปลอดภัยในการรักษาอาการต่าง ๆ และการศึกษาวิจัยทางการแพทย์ในพืชกระท่อมยังไม่แพร่หลายมากนัก นอกจากนี้หากใช้ไม่ถูกวิธีอาจทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาถึงขนาดและปริมาณของพืชกระท่อมในการรักษาอาการต่าง ๆ เพื่อการดูแลสุขภาพของคนไทยให้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการนำพืชกระท่อมไปใช้การดูแลสุขภาพของตนเองต่อไป
References
Act Narcotics (No. 7) B.E. 2019. (2019, Feb 19) volume 136 chapter 19. pages 1-15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/019/T_0001.PDF
Act Narcotics (No. 8) B.E. 2021. (2021, May 26) volume 138 chapter 35. pages 1-3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/A/035/T_0001.PDF
Agricultural Research Development Agency. (n.d.). What is a Katom. https://www.arda.or.th/knowledge_detail.php?id=55
Bangkok Business. (2021, 8 September). Politics: The House of Representatives unanimously Passed the Kratom Plant Act. Bangkok Business. https://www.bangkokbiznews.com/news/958976
BBC News Thai. (2021, August 24). Kratom: 10 interesting facts about medicinal plants that have been released from drug status. BBC. https://www.bbc.com/thai/thailand-58301713
Boonsupha, S. (2016). Kratom, a plant that everyone wants to know. https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/354
Bulad, S. (2015). The experience of drug addicts 4x100 of adolescents in a sub-district. of Krabi Province. Journal of Pikanetsan. 11(2), 41-49.
Eksit Kumarasit, E. & Cheha, D. (2021, 9 March). PSU points out the results of Kratom plant research on antidepressants to help treat Parkinson's symptoms. Prince of Songkla University. https://www.psu.ac.th/?page=news&news_code=326
Food and Drug Administration. (2021). Kratom. Narcotics Control Division. https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=606
Jareanying, P. (2021, December 29). Direction, cannabis-kratom, year 65. Khaosod Online. https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-inside-pages/news_6807594
INN. (2021, September 6). Lifestyle: How to Grow a Simple Cottage Tree with cuttings. INN. https://www.innnews.co.th/lifestyle/news_183011/
Kiatyingungsul, N. (2018). Kratom and marijuana are national drug security. Critical Medicine Journal. 9(4), 3-8.
Kingphutthapong, P. (2015). Cancellation of Kratom from Category 5 Narcotics Act. [Research Report not published]. Institute for the Development of Judicial Officers of the Court of Justice.
Office of the Narcotics Control Board. (2019). Kratom plant: Utilization of community knowledge and research on Kratom. Trio Advertising and Media Company Limited. Chiang Mai.
Panyaphu, D., Namkerd, M., Inchai, N., & Yossathien, K. (2016). Kratom: Herbs or Drugs. Journal of Thai Traditional and Alternative Medicine. 14(3), 242-256.
Royal Thai Government. (2021, August 19). Removing Kratom from narcotics. https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/44898
Thairath Online. (2521, September 2). Scoop Thairath: Traditional Medicine Recipe from "Kathu leaves". Lots of properties. Reduce redness, reduce diabetes. Thairath Online. https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2181425
Thongpraditchot, S. (2006). Pharmacological activity of Mitragynine, an active ingredient in Kratom leaves. Herbal information booklet. 24(1), 6-16.
Thongsuk, E. (2006). Study on the accumulation pattern of indole alkaloid in Mitragyna spesiosa Korth. [Graduate thesis not published]. Prince of Songkla University.
United Nations. (2013). World Drug Report 2013. United Nations publication. New York. https://www.unodc.org/unodc/secured/wdr/wdr2013/World_Drug_Report_2013.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว