บทบาทพยาบาลในการสนับสนุนการจัดการตนเอง ของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ:
การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง, การสนับสนุนการจัดการตนเอง, บทบาทพยาบาลบทคัดย่อ
การรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีขึ้น แต่ในทางปฏิบัติแล้วผู้ป่วยที่รักษาโดยวิธีการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องกลับต้องเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วย ได้รับอุปสรรคต่างๆในการดำเนินชีวิต และต้องพบกับความยุ่งยากในวิธีการรักษา ทั้งนี้มีปัจจัยที่ส่งผลกระทบให้การจัดการตนเองของผู้ป่วยไตวายเรื้องรังระยะสุดท้ายล้มเหลว ได้แก่ การขาดความรู้ในการดูแลการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องของตนเองและญาติ การขาดแรงการสนับสนุนจากครอบครัวและสังคม และสิ่งแวดล้อมในการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป การขาดความตระหนักของความสำคัญในการดูแลตนเองและทักษะในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ไม่ดีพอ ทำให้ผู้ป่วยไตวายเรื้องรังระยะสุดท้ายเกิดภาวะแทรกซ้อน และอาจจะเป็นอันตรายต่อชีวิต บุคลากรทางสุขภาพมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขเพื่อให้เกิดผลสำเร็จในการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ได้แก่พยาบาล เพราะเป็นบุคลากรทางสุขภาพเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการจัดการ ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่ได้รับการล้างไตทางหน้าท้องอย่างต่อเนื่อง โดยบทบาทของพยาบาลหลัก ๆ มีดังนี้ 1) บทบาทในการปฏิบัติการพยาบาล 2) บทบาทในการสนับสนุนการจัดการตนเองของผู้ป่วย 3) บทบาทด้านการสื่อสาร 4) บทบาทการดูแลแบบองค์รวมภายใต้จริยธรรมและการพิทักษ์สิทธิของผู้ป่วย 5) บทบาทการติดตามเยี่ยมดูแลต่อเนื่อง และ 6) บทบาทการประสานงาน พยาบาลที่สามารประยุกต์ใช้บทบาทดังกล่าวจะช่วยให้การพยาบาลมีคุณภาพ ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกกระบวนการที่ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง
References
Ardkhitkarn S. (2012) Self-management behavior Predictors of chronic obstructive pulmonary disease in elderly patients with chronic renal failure. Master Thesis Faculty of Nursing, Faculty of Graduate Studies, Chiang Mai University. (in Thai)
Artiwitchayanon A., Keeratiyutawong P. and Duangpaeng S. (2015). Factors predicting self-management in chronic kidney disease patients receiving continuous peritoneal dialysis. Ramathibodi Hospital, 21 (2), 172-185. (in Thai)
Kidney Disease Association of Thailand and The National Health Security Office. (2012). Management of chronic kidney disease patients. Bangkok: Union Ultra Violet Co., Ltd. (in Thai)
Luciana GF, Maria M L. Model of care in chronic disease: inclusion of a theory of Nursing. Text Context Nursing, Florianopolis, 2013 Oct-Dec; 22(4): 1197-204.
National Health Security Office. (2016) Report on the implementation of the Abdomen Rehabilitation Project in the Universal Health Care Program, 2559. Retrieved 14 December 2016. from http: //www.kdf.nhso.go. th /. (in Thai)
Riegel, B., Carlson, B., & Glaser, D. (2000). Development and testing of a clinical tool Measuring self-management of heart failure. Heart and Lung, 29 (1), 4-15.
Sarian M, Brault D, Perreault N. (2012). Self-management support for peritoneal dialysis patients. CANNT journal, 22(3), 18-24.
Suanpoot W.(2014) Factors affecting the infection in patients with renal dysfunction in Amphoe Phrae, Phrae Province Journal of Public Health, 23 (2), 284-289. (in Thai)
Varitsakul R, Sindhu S, Sriyuktasuth A, Viwatwongkasem C, Dennison Himmelfarb CR. (2013) The relationships between clinical, socio-demographic and self-management: factors and Complications in Thai peritoneal dialysis patients. Renal Society of Australasia Journal 9 (2), 85 -92.
Wagner, E. H, et al. (2001). Quality improvement in chronic illness care: A collaborative approach. Joint Commission Journal on Quality Improvement, 27 (2), 63-80.
Wattana C. (2016) Self-management: Strategies for Disease Control. Journal of Phrapokklao Nursing College, 26, 117-127. (in Thai)
Weeradecha S. (2011). Self-management of end-stage renal disease patients treated with continuous peritoneal dialysis. Master Thesis (from: the Graduate School of KU and KU library) Faculty of Nursing, Faculty of Graduate Studies, Khon Kaen University. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว