ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อความรู้ในการดูแลตนเอง และทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น

ผู้แต่ง

  • จิราพร อุดมกิจพิพัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • นุจเรศ โสภา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สุราษฎร์ธานี
  • รุจิลดา เศาจวุฒิพงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ความรู้ในการดูแลตนเอง, การป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น, โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ

บทคัดย่อ

จากข้อมูลกรมอนามัยพบว่าวัยรุ่นไทยมีอัตราการตั้งครรภ์เพิ่มสูงขึ้น จากร้อยละ 10 ในปี พ.ศ.2544 เป็นร้อยละ 40 ในปี พ.ศ.2552 โดยพบว่าวัยรุ่นเริ่มทัศนะในการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ  ดังนั้นการวิจัยกึ่งทดลองนี้  จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ในการดูแลตนเอง และทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น ในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจก่อนและหลังการทดลอง และ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจกับกลุ่มการสอนตามปกติ

ในการวิจัยได้แบ่งกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยเป็นกลุ่มทดลองเพื่อเข้าโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ จำนวน 8 แผน รวม 15 ชั่วโมง  กลุ่มควบคุมจำนวน 30 คนใช้การสอนปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้และทัศนคติในการดูแลตนเอง ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากการหาค่าความสอดคล้องภายใน ได้ค่าระหว่า 0.60 – 1.00 และความเชื่อมั่นของแบบทดสอบจาการทดลองใช้ในกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 ราย พบค่าความเชื่อมั่น (KR-21) 0.89 และความเชื่อมั่นของแบบประเมินทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค  0.78 ในการวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย และสถิติเชิงอ้างอิง คือการวัดความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated measures ANOVA) และสถิติทีคู่ (Paired t-test)

ผลการวิจัยพบว่า ระดับความรู้ในการดูแลตนเอง ของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ ก่อนและหลังการทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าความต่างของคะแนนเฉลี่ย 1.4  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.43 และค่าการทดสอบทีเท่ากับ 0.59 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกลุ่มวัยรุ่นมีความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษากันมาจากชั้นเรียนปกติบ้างแล้ว อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบคะแนนทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น ก่อนการทดลอง หลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 30 วัน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (F= 196.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายคู่พบว่าทั้งหลังการทดลองทันที และหลังการทดลอง 30 วัน มีคะแนนทัศนะคติในการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t=15.85 และ 18.24 ตามลำดับ)

จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจไม่มีผลต่อความรู้ในการดูแลตนเอง และทัศนคติในการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น สามารถเพิ่มทัศนะคติทางบวกในการป้องกันการตั้งครรภ์ให้กับวัยรุ่น แม้วัยรุ่นจะได้รับความรู้ตามปกติในชั้นเรียนแล้วก็ตาม แต่การเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลตนเองก็ยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะกระตุ้นให้วัยรุ่นได้นำความรู้ที่มีไปสู่การปฏิบัติ

References

Jiraporn Udokirpipat, Nujarat Sopa, and Rijirada Soujawuttipong. (2018). The Effects of an Empowerment Program on Self-care Knowledge and their Attitude towards Teenage Pregnancy Prevention. Journal of Health Research and Innovation, 1 (1); 35-45. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2018-06-01