ความเครียดและความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • Chuleeporn Heetakson
  • Soratree Phanoi
  • Sunisa Thepsenglee
  • Supawade Kaerat

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, ความเครียด, ความสามารถของผู้ดูแล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียดและความสามารถของผู้ดูแลโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในอำเภอเมือง จังหวัด สุราษฎร์ธานี จำนวน 50 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย แบบวัดความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง  โดยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 และ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า

1. ความเครียดของผู้ดูแลโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.07, SD=0.69) ความเครียดเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยทำให้ผู้ดูแลต้องพยายามปรับตัวและสภาพจิตใจ เนื่องจากมีความขัดแย้งกันในครอบครัวอยู่ในระดับมาก (Mean=4.39, SD=0.60) รองลงมาคือความเครียดเกี่ยวกับความรู้สึกกังวลเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก (Mean=4.37, SD=0.66)

2. ผู้ดูแลมีความสามารถในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก (Mean= 3.93, SD= 0.71)  การดูแลด้านร่างกายระดับมาก (Mean= 4.28, SD= 0.64)  การดูแลด้านการรับประทานอาหารระดับมาก (Mean=3.70, SD=0.83)  การดูแลด้านสิ่งแวดล้อมให้สะอาดปลอดภัยระดับมาก (Mean=3.72, SD=0.64 และการดูแลด้านจิตสังคมระดับมาก (Mean=4.05, SD=0.75)

จากผลการวิจัยเสนอแนะได้ว่า การประเมินความเครียดและความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะช่วยให้ทีมสหวิชาชีพสามารถเตรียมความพร้อมวางแผนให้คำปรึกษา การสร้างเสริมสุขภาพจิตลดความเครียดส่งเสริมความสามารถของผู้ดูแล และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อไป

เผยแพร่แล้ว

2018-12-01