นวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • นิภาภัทร จันทบูรณ์ โรงพยาบาลเกาะสมุย
  • อัจริยา วัชราวิวัฒน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • วรินทร จันทรมณี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

นวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

นวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุและศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ โดยมีขั้นตอนในการพัฒนานวัตกรรม 6 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพปัญหาความต้องการและรูปแบบรองเท้าที่เหมาะสมในการใช้งาน 2) การศึกษาแนวคิดทฤษฎีในการพัฒนานวัตกรรม 3) การสร้างนวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ 4) การประเมินคุณภาพนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงนวัตกรรมสุขภาพรองเท้ากันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุ 5) การทดลองใช้นวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้ากับ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในชุมชนบึงขุนทะเลและชุมชนมะขามเตี้ย จำนวน 32 คน และ 6) ประเมินประสิทธิผลและปรับปรุงนวัตกรรม ผลการทดลองพบว่า ผู้สูงอายุที่ใช้นวัตกรรมมีความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมสุขภาพรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.67 (SD = 0.38)  ผู้สูงอายุไม่เกิดการลื่นล้มเมื่อสวมรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าร้อยละ 100 และผู้สูงอายุมีความรู้สึกผ่อนคลายบริเวณเท้าขณะสวมใส่รองเท้า ร้อยละ 81.25 โดยกลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะให้มีการเพิ่มขนาดและสีสันที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมรองเท้าจุกยางกันลื่นและนวดเท้าสำหรับผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

References

Bureau of Policy and Strategy Ministry of Public Health. (2015). Statistical Thailand 2015. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand under Royal Patronage of His Majesty the King.

Chauwanichrisi, D. Janchai, S. and Tontisiriwat, N. (2009). Foot disorder and Proper Shoes for Elderly. Bankok: Chulalongkorn University.

Department of Medical services public health ministry.(2016).Caring aging at home. Chonburi: Center of Somdet Phra Nyanasamvara Somdet Phra Sangharaj for elderly.

Leesiam, K.(2010).Feet massage for health. Journal of Safety and Health, (3). Retrieved from http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book552/thai153.html.

Office of the National Economic and Social Development Board (NESDB). (2016).Philosophy of Sufficiency economy, Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.

Rattamai, S. (2016). Elderly Care Manual. Bangkok: Co.Sangdaw, Ltd.

Resources Management for Sustainability (3R) Foundation. (2018). 3R. Retrieve from http://www.3r-foundation.or.th/th/home/.

Songkhram N. (2013).Innovation; change learning to be innovator from research to practice. Bangkok: Co. We Print, Ltd.

The Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. (2017) .Situation of Thai Elderly 2016. Nakornpratom: Co. Printory, Ltd.

Worasiri, K. (2016). Physic for Nurse. Bangkok: Co.Wittayapat, Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-01