การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
จิตสาธารณะ, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
จิตสาธารณะเป็นคุณลักษณะทางคุณธรรมจริยธรรมที่บุคคลพึงมี เป็นคุณลักษณะที่แสดงออกถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ชุมชน และสังคมด้วยความเต็มใจ การปลูกฝังจิตสาธารณะในวิชาชีพพยาบาลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เริ่มตั้งแต่การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาพยาบาลให้พร้อมที่จะเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดี ปลูกฝังให้นักศึกษาพยาบาลมีคุณธรรมจริยธรรม มีความเอื้ออาทร มีจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และมีจิตสาธารณะ เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพและมีสมรรถนะที่สอดคล้องตามความต้องการของสังคม การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาพยาบาลกระทำได้โดยการสอดแทรกในการเรียนการสอนแต่ละครั้ง จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายที่จะช่วยส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีจิตสาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้โดยการบริการสังคมที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาพยาบาลได้มีประสบการณ์ตรงในการรับใช้และบริการสังคม ประสบการณ์ที่นักศึกษาพยาบาลได้รับจะสร้างแรงจูงใจให้เกิดจิตสำนึกในการช่วยเหลือสังคมและพัฒนาเป็นจิตสาธารณะตามมา
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี ได้จัดการเรียนการสอนรายวิชาทักษะชีวิต สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 ในรูปแบบของการบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการในเนื้อหาเรื่อง จิตสาธารณะกับการแก้ปัญหาสังคมแก่ผู้ด้อยโอกาส โดยจัดให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากการบริการสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับบริการวิชาการซึ่งประกอบด้วย นักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี เยาวชนของศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน เขต 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี และผู้รับบริการของศูนย์สาธิตจิตสังคมบำบัด โรงพยาบาลสวนสราญรมย์ รวม 140 คน มีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการมีทักษะชีวิตที่ดี ตลอดจนให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้จากการบริการวิชาการแก่สังคมสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีจิตสาธารณะได้เหมาะสม
จากการจัดการเรียนการสอน พบว่า ผู้รับบริการวิชาการมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการมีทักษะชีวิตที่ดี โดยมีระดับความรู้ความเข้าใจหลังเข้ารับบริการวิชาการอยู่ในระดับดีมาก และมีระดับความพึงพอใจในภาพรวมของการบริการวิชาการแก่สังคมอยู่ในระดับดีมาก นอกจากนี้ นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้จากการบริการวิชาการแก่สังคมสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีจิตสาธารณะได้เหมาะสม โดยแสดงความคิดเห็นว่าการเรียนรู้จากการบริการวิชาการแก่สังคมเป็นสิ่งที่ดีมาก ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับจิตสาธารณะมากขึ้น และสามารถนำผลจากการบริการวิชาการแก่สังคมสู่การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีจิตสาธารณะได้ แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้โดยการบริการสังคมทำให้นักศึกษาเกิดความคิดและความรู้ใหม่ เกิดการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชา เกิดแรงจูงใจในการช่วยเหลือสังคม และต้องการนำประสบการณ์ในการบริการสังคมไปพัฒนาตนเองเพื่อการเป็นผู้มีจิตสาธารณะต่อไป
References
Bhanthumnawin, D. (2001). The tree theory: Research and Development (4th Ed). Bangkok: National Institute of Development Administration. (in Thai)
Boonthum, A., Yutthawisut, S., Boaleung, T., Kaewprom, C., & Rungruang, K. (2015). Development on Reflective Clinical Skills of Nurse Students; The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, (32)3, 244-255. (in Thai)
Jisamak, P. (2010). Preparation of knowledge and understanding of the ASEAN Community. School of General Education, Kasem Bundit University. (in Thai)
Kamsrichan, W. (2001). Civic-Minded in The Context of Thai Civil Society. Unpublished doctoral dissertation, Mahidol University. (in Thai)
Kienngam, N. & Mateewhatanakul, S. (2010). Factors Associated with Public Mind in Students of University. Journal of Yala Rajabhat University. (5)1, 101-108. (in Thai)
Kuha, A. & Naraong-ard, S. (2011). Public Mind and Lifestyle of Prince of Songkla University's Students, Pattani Campus; Journal of Naradhiwas Rajanagarindra University, (3)2, 81-93. (in Thai National Institute of Development Administration. (In Thai)
National Economic and Social Development Board. (2011). The Eleventh National Economic And Social Development Plan (2012-2015). Bangkok : National Economic and Social Development Board Office of the Prime Minister. (in Thai)
Nuangchalerm, P. (2015). Development of Service Learning for Preservice Science Teachers. Journal of Thonburi University. (9)19, 30-39. (in Thai)
Office of the Higher Education Commission. (2011). A Guide to Quality Assurance in Education Higher Education 2010. Bangkok: Parbpim Ltd. (in Thai)
Pangpa, N. (2007). Participatory Action Research to Develop Public Mind of The lower Secondary Students at Ban Mon School under The Office of Sakonnakhon Primary Educational Service Area 2. Master’s thesis, Sakon Nakhon Rajabhat University.Sakonnakhon. (in Thai)
Prasertsang, P. (2013). The Development of Teaching Style by Social Services for Teacher Professional Students. Unpublished doctoral dissertation. Mahasarakrm University. Mahasarakrm. (in Thai)
Rodkaew, B. (2010). The Development of Students’ Public Mind by Doing Activities in Social Development Project. Rajabhat Sakon Nakhon University Journal. (2) 3, 79-91. (in Thai)
Sugmak, K., & Pathumjaroenwattana, W. (2011). Development of a program to enhance Perspective on public consciousness of police volunteers. Thonburi Rajabhat University Journal. 5(1), 79-91. (in Thai)
Vongmonta, A. (2010). Factors affecting towards public mind of Prince of Songkla University's Students, Pattani Campus; Kulayani Vadhana Institute of Cultural Studies. (in Thai)
Vongmonta, A. & Bandisak, P. (2009). Public mind of students, Prince of Songkla University, Pattani Campus. Research report presentation in academic conference to present research results. Pattani : Prince of Songkla University Pattani Campus. (in Thai)
Wanchaitanawong, W., Tanasuwan, P. and Pipatthanawong, W. (2008). Development of The volunteer spirit of nursing students in Boromarajonani Nursing College, Chiang Mai: Boromarajonani College of Nursing, Chiang Mai. (in Thai)
Wisetchoo, S. (2011). The Development Public Mind Process of Students, Kong Chai Witthayakom School. Unpublished master’s thesis, Mahasarakham Rajabhat University. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว