ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพ ในงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ทิพวรรณ เกตุแสง โรงพยาบาลไชยา

คำสำคัญ:

พยาบาลวิชาชีพ, การมีส่วนร่วม, งานพัฒนาคุณภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพ ในงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ของพยาบาล โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับงานพัฒนาคุณภาพ แบบสอบถามเจตคติต่องานพัฒนาคุณภาพ และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน คำนวณค่า Index of Congruence เท่ากับ 0.06 และ โดยการนำแบบสอบถามไปทดลองใช้เก็บรวบรวมข้อมูลกับพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 20 คน จากนั้นนำไปหาความเที่ยงของแบบประเมินความรู้เกี่ยวกับงานพัฒนาคุณภาพ ด้วยค่าคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 21(Kuder-Richardson 21) ได้เท่ากับ 0.75 แบบสอบถามเจตคติต่องานพัฒนาคุณภาพ และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมการพัฒนางานคุณภาพหาค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach's alpha ได้ค่าเท่ากับ 0.78 ตามลำดับ นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพจำนวน 30 คน

ผลการศึกษา พบว่าระดับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในงานพัฒนาคุณภาพของพยาบาลโรงพยาบาล โรงพยาบาลไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X} = 3.58, SD = 0.48) และพบว่า ความรู้เกี่ยวกับงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลและเจตคติเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในงานพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ของพยาบาลโรงพยาบาลไชยา มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.44; p < 0.01; r = 0.39; p < 0.01, ตามลำดับ)

References

Srisawatphong K, and Bouphan, P. (2013). The Quality Improvement of Community Hospitals by Staff Participation in Kalasin Province. KKU Res. J. Sci. Tech. 2011; 16(5): 563-574.

Thongpaknum C.(2017). The Relationships among Knowledge, Attitude and Behavior in Using Information Technology for Nursing of Air Force Nursing students in Royal

Thai Air Force Nursing College, Academic Year 2016. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 18(3): 217-227.

Saisanan Na Ayuthya, J., Monaiyapong, P. S., & Phanusophon, A. The factor affecting the participation management of hospital quality improvement at a private hospital in Bangkok. Thai Journal of Nursing, 62(4), 59-65, 2013.

The Healthcare Accreditation Institute. (2015). Hospital Accreditation and Healthcare Service Nontaburi: D-One Book.

The Healthcare Accreditation Institute (2018). HA update 2019. retrived June 15, 2018 fromhttps://www.forumhai.com/download/10714/0?file_name=HA+Update +2019_fn.pdf

The Healthcare Accreditation Institute. (2018). Retrived June 15, 2018 from https://www.ha.or.th/TH/Home

Jearapong, S. (2011). Factors Related to Participation of Professional Nurses in Hospital Quality Improvement in Community Hospitals, Prachinburi Province EAU Heritage Journal Science and Technology, 6(1), 121-132.

Palitnontakert, A., and Keawmesri, T. (2017). Factors Relating to Participation in the Development and Hospital Accreditation of Personnel in Bangchak Hospital, Samutprakan Province https://e-jodil.stou.ac.th/filejodil/14_3_526.pdf

Rattanaware S, Phensirinapa, N., & Jankong V. (2014). Factors Related to the Participation in Quality Development and Hospital Accreditation of Health Personnel at Community Hospitals in Bueng Kan Province. Journal of Safety and Health, 7(26); 48-58.

Barker, G.R & Gelmon, S.B. (1996). A quality improvement teaching resource guide. Arlington, VA: Association of University Programs in Health Admiration.

Cohen, J.M. and Uphoff, N.T. (1980). Participations’ place in rural development: Seeking Clarity through specificity. World Development

Cotton, J. L. (1997). Does employee involvement work? Yes, sometimes. Journal of Nursing care quality, 12(2)ม 33-45.

Cummings, T. G. and Worley, C. G. (2005). Organization development and change. (8th ed.). Ohio: Thomson South-Western.

Schaffer, R.H. (2004). Service-learning in Christian higher education: Bring our mission to life. Christine higher Education, 3(2), 127-145.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-01