ความรู้เกี่ยวกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์และความต้องการในการเข้ารับบริการ ตามสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • ดลฤดี เพชรขว้าง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • อัมพร ยานะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
  • อรทัย แซ่ตั้ง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา

คำสำคัญ:

การเข้ารับบริการตามสิทธิ, วัยรุ่น, สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น และความต้องการในการเข้ารับบริการของวัยรุ่นเมื่อตั้งครรภ์ตามสิทธิอนามัย- เจริญพันธุ์ ในกลุ่มตัวอย่างวัยรุ่น อายุระหว่าง 13 -19 ปีทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่อาศัยในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ดำเนินการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จำนวน 360 คน เก็บข้อมูลด้วย แบบสอบถามความรู้ตามสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหา ได้เท่ากับ 0.99 และความคงที่ภายใน KR-20 เท่ากับ 0.96 และแบบสอบถามความต้องการในการเข้ารับบริการเมื่อตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรมีค่าความตรงของเนื้อหา ได้เท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นของครอนบาค (Cronbach’s Coefficiency) เท่ากับ 0.96

ผลการศึกษาพบว่า ด้านความรู้ตามสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของกลุ่มวัยรุ่นที่ตอบผิดมากที่สุด คือ สิทธิในชีวิต สิทธิความเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ สิทธิในการเป็นส่วนตัว และสิทธิในการเลือกสมรส การวางรากฐาน และการวางแผนครอบครัว ด้านความต้องการในการเข้ารับบริการเมื่อตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรตามสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ของกลุ่มวัยรุ่น พบว่า วัยรุ่นมีความต้องการในการเข้ารับบริการมากที่สุด ได้แก่ การแนะนำเกี่ยวกับอาคารสถานที่ต่างๆในโรงพยาบาล (Mean = 4.25, SD = 0.82) การให้ความมั่นใจว่าความลับจะไม่ถูกเปิดเผยแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง (Mean = 4.27, SD = 0.85 ) การให้การพยาบาลอย่างถูกต้องตามขั้นตอน (Mean =4.32, SD = 0.80) การส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแล (Mean = 4.32, SD = 0.82)

จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า การลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นควรรณรงค์ให้วัยรุ่นมีความเข้าใจที่ถูกต้องตามสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ ด้วยการสื่อสารในหลากหลายรูปแบบ รวมถึงการจัดบริการด้านสุขภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของวัยรุ่นด้านต่างๆทั้งด้านบุคลากร ด้านการบริการและแหล่งสนับสนุนทางสังคมเพื่อเป็นแนวทาง ในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในแง่การให้การยอมรับและสนับสนุนการดูแลสุขภาพ ตามมุมมองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เพื่อสามารถให้การดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นตรงตามความต้องการของวัยรุ่นได้อย่างเหมาะสม

References

Atuyambe, L., Mirembe, F., Annika, J., Kirumira, E. K., & Faxelid, E. (2009). Seeking Safety and Ampathy: Adolescent Health Seeking Behavior During Pregnancy and Early Motherhood in Central Uganda. Journal of Adolescence, 32, 781-796.

Health Intervention and Technology Assessment Program (HITAP) (2003). ADOLESCENT PREGNANCY IN THAILAND 2013: The Teenage Pregnancy Situation in Thailand 2013. Retrived 2019, 5 Muarch, from file:///C:/Users/LENOVO/Dropbox/man/แม่วัยรุ่น/อ้าง/ adolescent_pregnancy_rep_online.pdf.

Khumtorn, L., & Suppasri, J., (2013). Factors Affecting to Unwanted Teenage Pregnancy in Trang Province, Trang. Borommaratjonani Colledge of Nursing.

Panudet, J., Boonpakdee, N., & Jaidee, (2007). Reproductive Health Right: The Essential Issue of Wemen Health. Bangkok: Srimuang Printing, Co.

Parsons, Talcott (1955). Family Structure and the Socialization of Child in Family, Socialization and Interaction Process, edited by T. Parsons and R.F, Bales New York: Free Press. The National Committee of Children and Adolescent. (2012). A Power Network. Bangkok: Augsorn Printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01