การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: กรณีศึกษาตำบลต้นแบบ หมู่ 3 บ้านทุ่งทอง ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, รูปแบบ, ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการมีส่วนร่วมของชุมชน การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน ตัวแทนของครอบครัวและครอบครัวที่เคยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลลาดบัวขาว จำนวน 28 คน และประชาชนหมู่ 3 ตำบลลาดบัวขาว จำนวน 15 หลังคาเรือน ที่มีสมาชิกในครัวเรือนป่วยด้วยไข้เลือดออกภายใน 5 ปีย้อนหลัง เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวทางสนทนากลุ่มเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 2) แนวทางสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) แบบสอบถามได้แก่ 1) แบบวัดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (House Index) 2) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก 3) แบบสอบถามความรู้ เจตคติและการปฏิบัติตัวในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย 1) ประชาชนให้ความสำคัญในเรื่องการป้องกันไม่ให้ยุงกัดมากกว่าการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ครอบครัวที่มีลูกหลานมีประวัติป่วยด้วยไข้เลือดออกจะตื่นตัวและให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการป้องกันและควบคุมโรคมากกว่า 2) รูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชน ประกอบด้วย การให้ความรู้ป้องกันและควบคุมโดยเสียงตามสาย การประยุกต์ใช้สมุนไพรและปูนแดงในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย การแจกทรายอะเบท (Abate sand) ปลาหางนกยูง การแลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยการสะท้อนคิดจากครอบครัวที่มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกหรือครอบครัวที่มีผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ และการติดตามกำกับการสำรวจลูกน้ำยุงลายเดือนละ 1 ครั้ง และ 3) หลังการดำเนินงาน พบว่าค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายมีค่าลดลง จาก 80 เหลือเพียง 10 และผลประเมินความพึงพอใจหลังการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่าครอบครัวที่มีสมาชิกป่วย ด้วยไข้เลือดออก มีความรู้เพิ่มขึ้น ในระดับดี ร้อยละ 100 มีเจตคติเพิ่มขึ้นในระดับดี ร้อยละ 86.66 และมีพฤติกรรมการปฏิบัติการเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกเพิ่มขึ้น จากไม่ปฏิบัติเลยร้อยละ 20.00 ลดลงเป็น ร้อยละ 13.33
References
Suphan, B., Chuengthong, P., Tansakun, S., & Pundee, W. (2012). Factors that have a relationship And dengue fever prevention behaviors of people in Sisaket Province cited by Jarusiri, W., National Academic Conference Report for Sustainable Research Development (p 1-13). Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai).
Wasri, P. (2014). Power tools to create quality for health. Suksala Magazine Bureau of Social and Health Research, 6(22).
Wongmarimat, S. (2013). Factors related to non-screening of cervical cancer in selected communities: Nonthaburi Province. Academic Journal Department of Health Service Support, 9(1) (in Thai).
Monki, S., Jai-Aree, A., & Tanphichai, P. (2013). Factors related to participation in prevention and control of dengue hemorrhagic fever Banangsai Community Wang namkhiao Sub-district Kamphaengsaen District Nakhonpathom. Veridian E-Journal, 6(3), 467-477. (in Thai).
Ratchaburi Provincial Health Office. (2014). Summary of the dengue hemorrhagic fever report of the Ratchaburi province in October 2014. Retrieve April 2, 2015. Fromhttp://ssoptr.com/phothaepid/index.php/usingjoomla/extensions/components/ content-component/article-category-list/50-upgraders
Bhatt, S., Gething, PW., Brady, OJ., Messina, JP., Farlow, AW., et al., (2013). The global distribution and burden of dengue. Retrieved April 10, 2015, from http://dx.doi.org/10.1038/nature12060
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว