ประสบการณ์ชีวิตของมารดาวัยรุ่น: ความตั้งใจ/ไม่ตั้งใจ ในการตั้งครรภ์ซ้ำ

ผู้แต่ง

  • ปาริฉัตร อารยะจารุ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • วิราวรรณ คล้ายหิรัญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
  • จิราภรณ์ อนุชา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, การตั้งครรภ์ซ้้า, มารดาวัยรุ่น, ตั้งใจ/ไม่ตั้งใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์ชีวิตในการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่น และการตัดสินใจในการตั้งครรภ์ซ้ำของมารดาวัยรุ่นไทย

วิธีการวิจัย: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีปรากฏการณ์วิทยาเชิงพรรณนา คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง ทำการรวบรวมข้อมูลจนมีความอิ่มตัว โดยเป็นมารดาตั้งครรภ์อายุ 15-19 ปี ผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 8 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์เป็นประเด็น  การวิจัยครั้งนี้ได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในมนุษย์เรียบร้อยแล้ว และผู้ให้ข้อมูลทุกรายได้รับการอธิบายก่อนเข้าร่วมกันวิจัยและยินยอมเข้าร่วมการวิจัย

ผลการวิจัย: จากจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 8 ราย เป็นมารดาตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ไม่ได้ตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำจำนวน 6 ราย และตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำจำนวน 2 ราย โดยมารดากลุ่มไม่ตั้งใจตั้งครรภ์ซ้ำ ให้เหตุผลว่าการตั้งครรภ์ครั้งนี้ เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจแต่ก็ไม่ได้ต้องการที่จะทำแท้งลูกของตน ผู้ให้ข้อมูลที่เหลือให้เหตุผลว่าการตั้งครรภ์ครั้งนี้เกิดจากความตั้งใจเนื่องจากสามีและครอบครัวต้องการมีบุตรหลาน ข้อค้นพบที่สำคัญคือ  ในการศึกษาครั้งนี้แม้ว่ามารดาตั้งครรภ์ไม่ตั้งใจที่จะตั้งครรภ์ แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มมารดาเหล่านั้นก็ยังไม่ตั้งใจที่จะป้องกันการตั้งครรภ์  โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกี่ยวกับการคุมกำเนิด เช่น ลืมกิน และระบุว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมชาติของชีวิตครอบครัว  ดังนั้นจึงไม่ได้คุมกำเนิด อีกทั้งยังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมในการคุมกำเนิดของสามีว่า สามีของพวกเขาขาดการมีส่วนร่วมและไม่เคยที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจวางแผนครอบครัว โดยภาระหลักในการคุมกำเนิดเป็นภาระของฝ่ายหญิงเอง รวมทั้งมีการกล่าวถึงการมีบุตรสองคนให้ดูแลเป็นเรื่องที่ทำให้  เหนื่อยมากขึ้น ไม่ได้มีชีวิตวัยรุ่นเหมือนเดิม

ข้อเสนอแนะ: พยาบาลประจำหน่วยฝากครรภ์ และหลังคลอด รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้คำแนะนำการวางแผนครอบครัวแก่มารดาวัยรุ่นหลังคลอด ในเรื่องการคุมกำเนิดและวางแผนครอบครัว โดยเน้น ให้สามารถยืดระยะเวลาการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ให้นานมากกว่าสองปี หรือเมื่อพร้อม รวมถึงสร้างการมีส่วนร่วมของสามีมารดาวัยรุ่น ให้เข้ามามีบทบาทในการวางแผนครอบครัวให้มากยิ่งขึ้น

References

Arai, L. (2009). Teenage pregnancy: the making and unmaking of a problem. Bristol: Policy Press.

Boardman, L. A., Allsworth, J., Phipps, M. G., & Lapane, K. L. (2006). Risk Factors for Unintended Versus Intended Rapid Repeat Pregnancies among Adolescents. Journal of Adolescent Health; 39(4): 1-8.

Cha, S., Chapman, D. A., Wan, W., Burton, C. W., & Masho, S. W. (2016). Discordant pregnancy intentions in couples and rapid repeat pregnancy. American Journal of Obstetrics & Gynecology. 214(4), 494.e1-494.e12.

Chaturachinda, K., & Boonthai, N. (2017). Unsafe Abortion: an Inequity in Health Care, Thailand Perspective. Journal of Population and Social Studies [JPSS]. 25(3), 287-297.

Chokthananukul, B., Kamsuwan, K. (2016). Teens Pregnant: Social Impact from the Intra-Generational perspective. Thai Population journal. 4(2), 61-79.

Conroy, K., Engelhart, T., Martins, Y., Huntington, N., Snyder, A., Coletti, K., & Cox, J. (2016). The Enigma of Rapid Repeat Pregnancy: A Qualitative Study of Teen Mothers. Journal of Pediatric & Adolescent Gynecology. 29(3), 312-317.

Herrman, J. (2007). Repeat pregnancy in adolescence: intentions and decision making. MCN: The American Journal of Maternal Child Nursing. 32(2), 89-94.

Holloway, I. & Galvin, K. (2017). Qualitative research in nursing and healthcare. Fourth edition [eBook]. Chichester, West Sussex: Wiley Blackwell.

Raneri, L. G., & Wienman, M. C. (2002). Social Ecological Predictors of Repeat Adolescent Pregnancy. Perspectives On Sexual & Reproductive Health 2007, 39(1), 39-47.

Raneri, L. G., & Wienman, M. C. (2007). Social Ecological Predictors of Repeat Adolescent Pregnancy. Perspectives On Sexual & Reproductive Health, 39(1), 39-47.

Whittaker A. The Struggle for Abortion Law Reform in Thailand, Reproductive Health Matters; 10(19), 45-53.

Wisarutkasempong, A., & Muangpin, S. (2015). Factors Related to the Intention to Repeat Pregnancy among Pregnant Adolescents. Srinagarind Medical Journal; 30(3): 262-269.

Bureau of reproductive Health. (2014), Fact Sheet- Adolescents reproductive health. Ministry of Public Health Thailand.

Oumtanee, A., (2013). Qualitative research in nursing. (3rd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-01