การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่มีภาวะโรคร่วมความดันโลหิตสูง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นงนุช ประทุม โรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, การพยาบาล, การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

บทคัดย่อ

การเกิดกระดูกข้อสะโพกหักในผู้สูงอายุถือว่าเป็นปัญหาสำคัญและพบได้บ่อยการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้เร็ว ช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนาน ดังนั้นพยาบาลห้องผ่าตัดจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วย ทั้งระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด และหลังผ่าตัด ในการเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ การช่วยส่งเครื่องมือผ่าตัดที่มีความซับซ้อนตามขั้นตอนได้อย่างแม่นยำถูกต้องทาให้ผู้ป่วยปลอดภัย ปราศจากภาวะแทรกซ้อนและเพื่อเป็นแนวทาง ในการพยาบาลผู้ป่วย การศึกษาแบบกรณีศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมที่มีภาวะโรคร่วมความดันโลหิตสูง 2 กรณีศึกษา ที่มารับผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในเดือนมกราคม 2562 โดยใช้เครื่องมือบันทึกการพยาบาล การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและครอบครัว วิเคราะห์เปรียบเทียบ ลักษณะประชากร อาการและอาการแสดง ปัญหาและการพยาบาล ผลการศึกษาพบว่าข้อมูลทั่วไป เพศ อายุ สาเหตุของการมานอนโรงพยาบาล การวินิจฉัยโรค และโรคประจาตัวไม่แตกต่างกัน แต่การดำเนินการของโรคความดันโลหิตสูงแตกต่างกันโดยกรณีศึกษาที่ 1 มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่า คือ มีประวัติหลอดเลือดสมองตีบ กินยาละลายลิ่มเลือด กระดูกบาง ใช้การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมแบบชนิดใส่ซีเมนต์ ส่วนผู้ป่วยกรณีศึกษาที่ 2 ระดับความดันโลหิตยังควบคุมได้ไม่ดี ต้องมีการปรับเพิ่มยา แพทย์ทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม ชนิดไม่ใช้ซีเมนต์ มีปัญหาการพยาบาลใกล้เคียงกัน 14 ปัญหา และปัญหาที่แตกต่างกัน 5 ปัญหา

References

Klaewklong, S., Chanruangvanich, W., Danaidutsadeekul, S. & Riansuwan, K. (2014). Relation of Comorbidity, Grip Strength and Stress to Hip Fracture Patients’ Post-Operative Functional Recovery. Thai Journal of Nursing Council, 29(2), 36-38. (in Thai)

Kristensen, S.D., Knuuti, J., Saraste, A., Anker, S., Botker, H.E., De Hert, S, et al. (2014). 2014 ESC/ESA Guidelines on non-cardiac surgery:cardiovascular assessment and management. European Heart Journal, 3, 2383-2431.

Leuiphonwanit, P., Pakpianphairot, C. & Leechawong, S. (2015). Integration in protection and treat duplicate fractures from osteoporosis. Journal of the Department of Medical Services, 40(4), 16-18. (in Thai)

Makkabphalanon, K., & Suppawach, P.( 2016) Elderly care post total hip arthroplasty. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, (3)6, 57-64. (in Thai)

Novack, V., Jotkwitz, A., Etzion, O. & Porath, A. (2007). Does delay in surgery after hip fracture lead to worse outcomes? A multicenter survey. International Journal for Quality in Health Care, 19, 1-7.

Prasartritha, T., Layanun, P. & Sripeanem,S. (2012). Orthopedics nursing. Bangkok: Sahamitr printing & publishing Co.,LTD. (in Thai)

Songpatanasilp,T. (2018). Osteoporosis :Silent danger that should not be overlooked. Retrieved February 13, 2020, from https://www.thaihealth.or.th. Takuapa Hospital. (2019). Patient statistics Takuapa Hospital. Phangnga: Author. (in Thai)

Tengkiattrakul, S. and Butsripoom, B. (2016). Perioperative nursing. Bangkok: Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital Mahidol University. (in Thai)

Th Hypertension Association of Thailand. (2019). 2019 Thai Guidelines on the Treatment of Hypertension. Retrieved February 13, 2020, from http://www.thaihypertension.org/guideline.html.

Thosingha, O. Tengpanichkul, P., Chuetaleng, T. & Thongteratham, N. (2016). Orthopedic nursing Bangkok: Faculty of Nursing Textbook Project Mahidol University. (in Thai)

Wichal,.J, Poldongnauk., S, & Topanyarung,T.(2014). Hypertension .Khonkaen; Klungnana Vittaya press. (in Thai)

Wilairat, W. (2019.) Fracture of femur. Retrieved May28, 2019, From http.//ortho.md.chula.ac.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01