การพยาบาลผู้ป่วยโรคฉี่หนูที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน ที่ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, โรคฉี่หนู, การพยาบาล, ภาวะไตวายเฉียบพลันบทคัดย่อ
โรคฉี่หนูเป็นโรคที่เกิดจากติดเชื้อแบคทีเรียก่อให้เกิดพยาธิสภาพและอาการได้หลายระบบโดยเฉพาะระบบไต ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ทันเวลาจะทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคฉี่หนูที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันที่ได้รับการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียม จึงได้นำเสนอกรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย ที่ศึกษา ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2562 ดังนี้
กรณีศึกษาที่ 1 ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 49 ปี ให้ประวัติว่า 7 วัน ก่อนมาโรงพยาบาลมีไข้ปวดเมื่อยตัว ปวดตึงน่อง อ่อนเพลีย ตัวตาเหลือง ตาพร่ามัว ปัสสาวะออกน้อย ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นโรคฉี่หนูที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน มีแผนการรักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม แต่ผู้ป่วยและญาติปฏิเสธ จนผู้ป่วยหายใจเหนื่อยหอบมากขึ้นในวันที่ 8 ของการรักษา ร่างกายมีภาวะเป็นกรดสูง รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 1 ครั้ง ไม่ครบ 2 ชั่วโมง เกิดความดันโลหิตต่า ภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิต รวมระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล 9 วัน
กรณีศึกษาที่ 2 ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 44 ปี ให้ประวัติว่า 5 วันก่อนมาโรงพยาบาลมีไข้ปวดเมื่อยตัวตาเหลือง ถ่ายเหลว ปัสสาวะออกน้อย อ่อนเพลีย รู้สึกหายใจไม่อิ่ม ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์เป็นโรคฉี่หนูที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน มีแผนการรักษาให้ยาปฏิชีวนะให้สารน้ำ อาการไม่ดีขึ้น ในวันที่ 5 ของการรักษา หายใจเหนื่อยหอบมากขึ้น ร่างกายมีภาวะเป็นกรด รักษาด้วยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม 2 ครั้ง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม รวมระยะเวลา การรักษาตัวในโรงพยาบาล 12 วัน
ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลันที่เกิดจากโรคฉี่หนู เมื่อได้รับการรักษา อย่างรวดเร็วและเหมาะสม ได้รับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมร่วมด้วย จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นจากการฟื้นฟูของไต ลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเสียชีวิตลงได้ ดังนั้นบุคลากรการทางพยาบาล จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความชานาญเป็นพิเศษ และมีแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยที่เป็นมาตรฐานเพื่อให้การพยาบาลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
References
Bureau of General Communicable Diseases, Department of Disease Control, Ministry of Public Health, (2020). Leptospirosis disease plan 2017-2021.
Haake D.A., Levett P.N., (2015). Leptospirosis in Humans. In: Adler B. (eds) Leptospira and Leptospirosis. Current Topics in Microbiology and Immunology, Vol 387. Springer, Berlin, Heidelberg.
Hurst F.P., Neff R.T., Katz A.R., Buchholz A.E., Sasaki D.M., Berg B.W., et al., (2009). Acute Kidney Injury Requiring Hemodialysis in Patients With Anicteric Leptospirosis. Clin Nephrol, Sep;72(3): 186-192.
Srisawat. N., Tungsanga. K., (2017). Acute Kidney Injury. Bulletin of the Department of Medical Services, Year 42, Issue 6, November-December. (in Thai)
Visith S., Kearkiat P., (2005). Nephropathy in leptospirosis. J Postgrad Med 51: 184-188.
Yaslianifard S, Hoseini M, Yaslianifard S, Alimorad S., (2018). Renal Failure Due to Human Leptospirosis; An Overview, Nephro-Urol Mon. 10(3):e66503. doi: 10.5812/ numonthly.66503.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว