การพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต้อหินเฉียบพลัน จากเลนส์ตาบวมในผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยิน : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อ่อนศา ลิ่มสกุล โรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา

คำสำคัญ:

โรคต้อกระจก, การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก, ต้อหินเฉียบพลันจากเลนส์ตาบวม

บทคัดย่อ

ต้อหินเฉียบพลันจากเลนส์ตาบวม เป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคต้อกระจกที่ไม่ได้รับการรักษา ส่งผลให้เลนส์ตามีความหนาหรือบวมมากกว่าปกติ จนดันม่านตามาปิดมุมตา ช่องหน้าม่านตาตื้น เกิดการอุดกั้นทางเดินของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา มีการคั่งของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา ทำให้ความดันลูกตาสูง ต้อหินชนิดมุมปิดเป็นภาวะเร่งด่วนทางตาหากไม่ได้รับการรักษาในเวลาที่เหมาะสมอาจทำให้สูญเสีย การมองเห็นได้ การรักษาหลักคือการควบคุมความดันตา และกำจัดสาเหตุของต้อหินโดยการผ่าตัดต้อกระจก นอกจากนี้การสูญเสียการได้ยินของผู้ป่วยเป็นอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากโรคต้อกระจก มักพบในผู้สูงอายุ การสูญเสียการได้ยินนี้ เป็นความบกพร่องในการรับฟังเสียงที่ต่างไปจากปกติ ซึ่งมีหลายระดับ และส่งผลโดยตรงต่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยทั้งในระหว่างการรักษา และภายหลังการผ่าตัด ซึ่งการสื่อสารนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยเข้าใจกระบวนการรักษา การดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องปลอดภัยเพื่อช่วยลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้น

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่เกิดภาวะแทรกซ้อนต้อหิน จากเลนส์ตาบวมในผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยิน เป็นผู้ป่วยในแผนกจักษุ โรงพยาบาลตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2561 ถึง พ.ศ.2562 โดยใช้เครื่องมือบันทึกการพยาบาล เวชระเบียน วิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะประชากร อาการและอาการแสดง วินิจฉัยการพยาบาลและการพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า สิ่งสำคัญที่เหมือนกันสำหรับการพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มีและไม่มีภาวะแทรกซ้อนคือ การพยาบาลก่อนและหลังผ่าตัดต้อกระจก จุดต่างของการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน การให้ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนที่ชัดเจน ครอบคลุมด้านที่สำคัญต่อผู้ป่วยโดยตรง อาทิ สาเหตุของอาการรบกวนปวด การรักษา ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ยา เป็นต้น สำหรับการการพยาบาลผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในระดับที่ต่างกัน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันด้านการสื่อสาร แต่ที่ใช้ในการส่งสารแก่ผู้ป่วยที่ระดับการสูญเสียการได้ยินสูง จะใช้เวลามากกว่า

Downloads

Download data is not yet available.

References

Faculty of Medicine Chiang Mai University. (n.d.). Integrated Chronic Heart Failure Care Guide. (in Thai). Retrieved May 8, 2020. From http://www.thaiheart.org/images/column_1291454.

Tabin, G., Chen, M., & Espandar, L. (2008) Cataract Surgery for the Developing World. 19(1), 55-59.

Charoenlotongdee, J. (2013). Nursing Care If Glaucoma Caused from Phacomorphic and Diabetic Retinopathy: Case Study. From http://www.ayhosp.go.th.

Kamphaeng Phet Hospital Staff. (2017). Journal of Kamphaeng Phet Hospital. No.1 (in Thai). Retrieved May 8, 2020. From https://www.kph.go.th/html/attachments/article/2060.

Kantang Hospital. (n.d.). Glaucoma. (in Thai). Retrieved May 26, 2020 From http://kantang-hospital.go.th.

Karnchanawanich, R. & Promminthikul, A. (n.d.). Comprehensive Heart Failure Management Program. (in Thai). Retrieved May 26, 2020 From http://www.thaiheart.org.

Laohajaroenyod, N. (n.d.). Food and Potassium. (in Thai). Retrieved May 26, 2020 From http://sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-62?fbclid=IwAR3oAUf-Wt8JYt3xPOGv Rtn0HZ98lNIfhNFOPmnWleia7OHCncI6stPMLI.

Leelachaikul, Y. (2007). Glaucoma Treatment by Using Medication. (1st ed.). Bangkok: Korphai.

Manodee, S. (n.d.). Cataract Nursing. (in Thai). Retrieved April 25, 2020 From http://hospital.moph.go.th/bangsay.

Pangputthipong, P. et al. (n.d). Eye Disease. (in Thai). Retrieved May 8, 2020 From https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth

Pipatvanitcha, N. (2012). Nursing Care for Older Adults with Hearing Loss. (in Thai). Retrieved May 26, 2020 From https://www.nur.psu.ac.th/journal.

Prajna, N., Ramakrishnan, R., Krishnadas, R., Manoharan, N. (1996). Lens Induced Glaucomas – Visual Results and Risk Factors for Final Visual Acuity. Retrieved May 27, 2020 From http://www.ijo.in/article.asp.

Ramathibodi Hospital’s Faculty of Medicine, Mahidol University. (n.d.). The Improvement of Hearing Impairment. (in Thai). Retrieve May 26, 2020 From https://med.mahidol.ac.th/ commdis.

Sirindhorn Institute for National Rehabilitation of Medicine. (2015). Nursing Care for Hearing and Communication Impairment’s Patients and Disabled. (1st ed.). Nonthaburi: Sahamit Printing.

Wattanawakin, N. (2010). Eye Pain Management: The Role of Nurse. (in Thai). Retrieved May 1, 2020 From https://med.mahidol.ac.th/nursing.

Wongsawat, W., Aramay, P., Hashshu, P, Taweebunjongsin, W. (2016). Developing Guidelines for Managing Eye Emergencies. (in Thai). Retrieved April 24, 2020 From https://www.nie ms.go.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-01