การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลันร่วมกับมีภาวะช็อคจากการเสียเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, เลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น, ภาวะช็อคจากการเสียเลือดบทคัดย่อ
ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลันร่วมกับมีภาวะช็อคจากการเสียเลือด เป็นภาวะฉุกเฉินและเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต การวินิจฉัย รวมทั้งการรักษา และการให้การพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม ช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัยวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลันร่วมกับมีภาวะช็อคจากการเสียเลือดการศึกษาผู้ป่วย 2 รายเพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นเฉียบพลันร่วมกับมีภาวะช็อคจากการเสียเลือด ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย 2 โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม2563จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การซักประวัติ การวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผน11 แบบแผนของกอร์ดอนกรณีศึกษาที่1 ชายไทยอายุ 45 ปี มาด้วยอาการ อาเจียนเป็นเลือดสดก่อนมาโรงพยาบาล 5 ชั่วโมง แพทย์วินิจฉัย Acute Upper Gastrointestinal Bleedingwith Hypovolemic shockแพทย์ Resuscitate ให้เลือดทันที ได้รับการส่องกล้อง เมื่ออาการคงที่ และจำหน่ายกลับบ้านได้อย่างปลอดภัยกรณีศึกษาที่ 2ชายไทยอายุ 36 ปี มาด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือดและถ่ายดำ ก่อนมารพ 30 นาที แพทย์วินิจฉัย Acute Upper Gastrointestinal Bleeding with Hypovolemic shock แพทย์ให้การ Resuscitation และใส่ท่อช่วยหายใจ ได้รับการดูแลจากพยาบาลอย่างใกล้ชิดและจำหน่ายกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย กรณีศึกษานี้ทำให้เห็นถึงกระบวนการการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดใน 3 ระยะ ของการดูแลผู้ป่วย ได้แก่ระยะแรกรับ ระยะวิกฤตและการดูแลต่อเนื่อง และระยะจำหน่าย ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย
References
สุนันทา พนมตวง, ชนกพร จิตปัญญา. การบำบัดทางการพยาบาลในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องหายใจ : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2554; 22(1) 58-71.
ทนันชัย บุญบูรพงศ์. การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ : การบำบัดระบบหายใจในเวชปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 8. บจก.ปัญญมิตร การพิมพ์, 2561; 431-452
Candid Villanueva, Alan Colomo, Alba Bosch, Mar Concepcion, Virginia Hernandez-Gea, CarlesAracil, et.al. Transfusion Strategies for Acute Upper Gastrointestinal Bleeding. The New England Journal of Medicine, 2013; 368, 11-21.
Zhang, C., Ciu, M., Xing, J., Shi, Y., & Su, X. Massive gastrointestinal bleeding caused by a giant gastricinflammatory fibroid poplyp: A case report. International journal of Surgery Case Report, 2014; 571-573.
Valkhoff, V.E., &Sturkenboom, M.C. Risk factors for gastrointestinal bleeding associated with low-dose aspirin. Best Practice and research Clinical Gastroenterology, 2012; 25(3), 125- 140.
Fletcher EH., Johnston DE., Fisher CR., Koerner RJ., Newton JL., Gray CS. Systematic review: Helicobacter pyloriand the risk of upper gastrointestinal bleeding risk in patients taking aspirin. Alimentary pharmacology & Therapeutic, 2010 ; 32(7) 831-9.
Thad Wilkins., Naiman Khan., AkashNabh., & Robert R. Schade. Diagnosis and management of upper gastrointestinal bleeding. American Family Physician, 2012; 85(5) 469-476.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว