การพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • สุภาพร เพชรรักษ์ Ranong Hospital

คำสำคัญ:

การพยาบาลภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต

บทคัดย่อ

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดจัดเป็นภาวะเร่งด่วนในการรักษาพยาบาล หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะมีอัตราตายสูง ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จึงได้นำเสนอกรณีศึกษา 2 ราย ที่ได้ศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ดังนี้

กรณีศึกษารายที่ 1 ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 30 ปี ให้ประวัติว่า 3 วันก่อนมารพ. ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง ญาตินำส่งรพ.สุขสำราญ ให้พักรักษาในรพ. 1 วันต่อมาความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะออกน้อย วินิจฉัยเป็นภาวะช๊อคจากการติดเชื้อและไตวายเฉียบพลัน ส่งตัวรักษาต่อที่รพ.ระนอง ขณะส่งต่อหายใจเหนื่อยมากขึ้น ที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉินผู้ป่วยปฏิเสธการใส่ท่อช่วยหายใจ หลังเข้าพักในแผนกอายุรกรรม 2 ชั่วโมง หายใจหอบลึก ปลายมือปลายเท้าเย็น ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและย้ายเข้าหอผู้ป่วยหนัก เกิดระบบการหายใจล้มเหลวอย่างรุนแรงและเฉียบพลันได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ยาผ่อนคลายกล้ามเนื้อและยาช่วยให้หลับ รักษาสมดุลของสารน้ำ ยาต้านจุลชีพ และยาช่วยเพิ่มความดันโลหิต พักรักษาในหอผู้ป่วยหนัก 9 วัน จึงย้ายออกและสามารถกลับบ้านได้ภายใน 10 วัน

กรณีศึกษารายที่ 2 ผู้ป่วยเพศหญิง อายุ 26ปี 1 วันก่อนมารพ. มีไข้ หนาวสั่น หายใจเร็ว ปัสสาวะแสบขัด 15 นาทีก่อนมารพ. ขณะทำงาน หายใจเหนื่อย ตาเหลือกลอย เพื่อนร่วมงานตาม EMS ส่งรพ.ระนอง รู้สึกตัวดี ปลายมือปลายเท้าเย็น มีไข้สูง พบหนองทางช่องคลอดส่งตรวจเพาะเชื้อ ส่งเลือดเพาะเชื้อก่อนให้ยาต้านจุลชีพทันทีที่แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ให้สารน้ำ หายใจเหนื่อยมากขึ้นร่วมกับมีภาวะช๊อค ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ ก่อนย้ายเข้าหอผู้ป่วยหนัก หลังพักรักษาในหอผู้ป่วยหนัก 4 วัน สามารถถอดท่อช่วยหายใจออกได้ ไม่มีไข้ แพทย์อนุญาตให้ย้ายออก รวมเวลาอยู่ในรพ.นาน 5 วัน จึงสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้

ผลจากการเปรียบเทียบกรณีศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้

  1. การพัฒนาระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในโรงพยาบาลระนอง ที่

มุ่งเน้นให้เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมาย ภายใต้การร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ โดยมีการกำหนดแผนการดูแลผู้ป่วยล่วงหน้าร่วมกันและมีพยาบาลผู้จัดการรายกรณีเป็นผู้ประสานการดูแลตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย รวมทั้งควรมีการติดตามผลการพัฒนาระบบ

  1. การพัฒนาระบบทางด่วนส่งต่อผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis fast track) ใน

เครือข่ายจังหวัดระนอง  

References

ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ สุนันญา พรมตวง และ จันทนา แพงบุดดี. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต ด้วยระบบทางด่วน โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562.
พรทิพย์ แสงสง่า และ นงนุช เคี่ยมการ. ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรง ทางคลินิกตามเกณฑ์ “Sepsis bundles” ในงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 ปีที่ 29 ฉบับที่ 3 ก.ค. - ก.ย. 2558.
พรนภา วงศ์ธรรมดี รัชนี นามจันทรา และ วารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท. ปี ที่ 1 ฉบับที่ 1 (กันยายน-ธันวาคม 62), 33-49.
สมใจ จันทะวัง.การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน Journal of the Phrae Hospital Volume 26 No.1 January - June 2018.
Dugar, S, Choudhary C, and Duggal A. Sepsis and septic shock: Guideline-based management. CLEVELAND CLINIC JOURNAL OF MEDICINE VOLUME 87 • NUMBER 1 JANUARY 2020.
Kleinpell, R. et al. International critical care nursing considerations and quality indicators for the 2017 surviving sepsis campaign guidelines. Intensive Care Med (2019) 45:1663–1666.
Levy, M.M., Evans, L.E. and Rhodes, A. (2018). The Surviving Sepsis Campaign Bundle: 2018 update. Intensive Care Med. 2018 Jun;44(6):925-928.
Sakr, Y., et al. (2018), Sepsis in Intensive Care Unit Patients: Worldwide Data From the Intensive Care over Nations Audit. Open Forum Infectious Diseases 5(12).
S.P. Shashikumar et al. Early sepsis detection in critical care patients using multiscale blood pressure and heart rate dynamics. Journal of Electrocardiology 50 (2017) 739–743.
Threatt, D. L. Improving Sepsis Bundle Implementation Times. Journal of Nursing Care Quality. April–June 2020 • Volume 35 • Number 2.
W.-F. Fang et al. Application of dynamic pulse pressure and vasopressor tools for predicting outcomes in patients with sepsis in intensive care units. Journal of Critical Care 52 (2019) 156–162

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30