การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะบทคัดย่อ
การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ : กรณีศึกษา 2 ราย
ชวรินทรา ยอดแสง โรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี email: taewcha@yahoo.com
บทคัดย่อ
ภาวะเลือดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน Acute Coronary Syndrome (ACS) หมายถึง กล้ามเนื้อหัวใจมีการขาดเลือดอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน มีอัตราเสียชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง รวดเร็ว พยาบาลฉุกเฉินจึงมีบทบาทสำคัญมาก ในการดูแลผู้ป่วยระยะวิกฤตฉุกเฉิน การคัดแยกผู้ป่วย (Triage) การประเมินอาการ การวินิจฉัยปัญหาทางการพยาบาล การให้การพยาบาล การดูแลให้ยาตามแผนการรักษา การรายงานแพทย์ตลอดจนการ ประสานงานส่งต่อผู้ป่วย จึงได้นำเสนอกรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย
กรณีศึกษาที่ 1 หญิงไทยอายุ 82 ปี เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ด้วยประวัติเจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบ ST-elevation ที่Lead II,III,AVF แพทย์วินิจฉัยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ( Inferior Wall Myocardial Infarction ) ผู้ป่วยเหงื่อออก ตัวเย็น ปลายมือปลายเท้าเขียว หายใจเร็ว แพทย์พิจารณา ใส่ท่อช่วยหายใจ ผู้ป่วยได้รับยาลดการแข็งตัวของเลือด ปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลศูนย์เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ให้ส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาด้วย Primary Percutaneous Coronary Intervention ทำ EKG ซ้ำพบ ST-elevation ที่ II,III,AVF Ventricular Tachycardia rate 150-160 ครั้ง/นาที แพทย์ทำ cardioversion 200 Joule ชีพจรกลับมาปกติ และส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษา
กรณีศึกษาที่ 2 ชายไทยอายุ 73 ปี 30 นาที ก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการเจ็บหน้าอก ร้าวไปต้นคอ เหงื่อออก ตัวเย็น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจพบ ST-Elevation ที่ Lead II,III,AVF แพทย์วินิจฉัยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Inferior Wall Myocardial Infarction ) ปรึกษาอายุรแพทย์โรคหัวใจ ให้ Admit หอผู้ป่วยวิกฤต และให้ยาลดการแข็งตัวของเลือด และยา Streptokinase 1.5 mu ทางหลอดเลือดดำ ขณะได้ยาผู้ป่วยมีเลือดออกตามไรฟัน
ผลการศึกษา กรณีศึกษาทั้ง 2 รายเป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ( Inferior Wall Myocardial Infarction ) มารับการรักษา ได้รับการดูแลตามแผนการรักษาของแพทย์ ให้การพยาบาลโดยการใช้กระบวนการพยาบาลตามอาการของผู้ป่วยครอบคลุม ผู้ป่วยปลอดภัยพ้นภาวะวิกฤติ รับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลและส่งต่อไปยังโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าได้อย่างปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
คำสำคัญ : กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หัวใจเต้นผิดจังหวะ
References
Reference
Chaiwong,N, & Sanprakhon,P. (2019).Acute Coronary Syndrome: Challenges of Emergency
Nurse in Critical care.Thai Pharmacy Health Science Journal, 14(1), 43-51.
Committee of Service Plan: Heart. (2016).Guideline of Service Plan: Heart.Bangkok: O-Wit
Company (Thailand).
Department of Medicine. (2004).Guideline of Acute Coronary Syndrome. (1st ed).Bangkok:
Cooperation of Thailand.
Department of Disease Control, Ministry of Public Health.Situation of Coronary Artery Disease
Retrieved Octorbor 15, 2020, from htt://ddc.moph.go.th.
Khlaisuban,Ch. (2018).Guideline for ER Service Delivery.(2nd ed).Bangkok: Samchai Printing
Limamnualap,S, & Thamnong,C. (2014).Critical Care of Nursing.(8th ed).KonKhan:
Klangnanawit.
Maneesri,S. (2016).Nursing Care for Patients Receiving Anticoagulant Medication Group of
Heparin.Journal of Nursing and Healthcare, 34(1), 15-20.
Sutthaisuk,S. (2014).Guideline of Heart Association in Thailand.(2nd ed).Bangkok: Srimuang
Printing.
Thuphairo,P .(2011).Handbook of Diseases.(2nd ed).Bangkok: N P Press Printing.
.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว