การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นเอสทีไม่ยก ที่มีโรคร่วม : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • Jintana Nakpin โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การพยาบาล, โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน

บทคัดย่อ

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นเอสทีไม่ยก เป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง ถ้าไม่ได้รับการดูแล รักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งพยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดูแลที่จะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิดคลื่นเอสทีไม่ยกที่มีโรคร่วม เป็นกรณีศึกษาผู้ป่วย 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี โดยวิเคราะห์กรณีศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลการเจ็บป่วย การประเมินสุขภาพตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน และข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่สำคัญในระยะวิกฤต ระยะการดูแลต่อเนื่องและระยะวางแผนจำหน่าย 

      ผลการศึกษา:พบว่าทั้ง  2 ราย มีความต่างกันในประเด็น ดังนี้1)ปัจจัยส่วนบุคคลที่เสี่ยงต่อการเกิดโรค  ได้แก่ อายุ โรคประจำตัว พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ การดื่มสุราและพฤติกรรมการนอน 2)อาการและอาการแสดง 3)ภาวะแทรกซ้อนขณะดูแล 4)การให้ยาขณะรับการรักษา และมีประเด็นที่ไม่ต่างกัน ได้แก่ 1)การวินิจฉัยโรค 2)การทำหัตถการ(ฉีดสีและสวนหัวใจ) 3)ปัญหาข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่สำคัญ ในระยะวิกฤต ระยะการดูแลต่อเนื่องและระยะวางแผนจำหน่าย

      สรุป: ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นเอสทีไม่ยกที่มีโรคร่วม จะมีอาการและอาการแสดงที่รุนแรงและเฉียบพลัน ดังนั้นการที่พยาบาลเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด สามารถประเมินอาการและการเปลี่ยนแปลงที่ซับซ้อนจากโรค การใช้ยา ผลทางห้องปฏิบัติการ การใช้เครื่องและติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และวางแผนให้การพยาบาลครอบคลุมตามปัญหาที่เกิดขึ้นทุกระยะของการดูแลที่รวดเร็ว ให้ผู้ป่วยได้รับการแก้ไขทันท่วงทีจะช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย นอกจากนี้ในการวางแผนจำหน่ายการเน้นย้ำให้ผู้ป่วยได้รับรู้ปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการให้ญาติมีส่วนร่วมจะช่วยในการป้องกันและลดภาวะเสี่ยงของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันซ้ำ

References

Arunsaeng, P. (2015). Cardiovascular Nursing. Khon kaen: Khungnana vithaya

Printing Co.Ltd. (in Thai)

Diabetes impact on Thailand. (2017). The Diabetes Epidemic and Its Impact on Thailand.

Retrieved December 25, 2020 From https://www.changingdiabetes Thailand.com/diabetes- impact.

Division of Non Communicable Diseases Ministry of Public Health.(2019). Annual Report

No1. Bangkok : Aksorn Graphic and design Publishing Printing Co. Ltd. (in Thai)

Hengrasmee, K. (2017). Coronary Heart Disease. Retrieved December 25, 2020 form

https://www.hiso.or.th/his/picture report Health/report.

Harnyoot, O. (2015). Nursing Process and Implications. Journal of The Royal Thai

Army Nurses. 15(3), 137-143. (in Thai)

Jamsomboom, K. (2018). Interpretation of ECG Results and Nursing Care for Patients

with Heart Disease. Bangkok: Sukhumvit Printing Co.Ltd. (in Thai)

Korakotkamjon, P. (2020). Knowledge Cardiovascular Risk and Health Behaviors

among Patients with Diabetes and Hypertension in Mueang Chiangrai District.

Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 31(1), 46-61. (in Thai)

Office of Policy and Strategy. (2017). Ministry of Public Health Public Health Statistics.

Retrieved December 27,2020 Form

http://bps.moph.go.th/new_bps/sites /default/ files /health_statistic 255.pdf.

Suwanno, J. (2018). Association of Risk Level and Major Adverse Cardiovascular Events in

Patients with Non-ST Elevation Myocardial Infarction. Thai Journal of Cardio-

Thoracic Nursing, 29(1), 6-28. (in Thai)

The Heart Association of Thailand. (2020). Thai Acute Coronary Syndromes Guideline 2020.

Bang Phli Samut prakan: Nextstep Design Limited Partnership. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30