ผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระนอง

ผู้แต่ง

  • Niramol Oucharorn โรงพยาบาลระนอง
  • Knlayanee Nakarit

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ, ปอดอักเสบ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระนอง กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 80 คน และผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจที่มีอายุ 15  ปีขึ้นไป และไม่มีการติดเชื้อปอดอักเสบตั้งแต่แรกรับ จำนวน  244  คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการสังเกตการปฏิบัติ แบบสอบถามความคิดเห็น  รูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงเปรียบเทียบ

          ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรพยาบาลร้อยละ 56  เห็นด้วย และเห็นด้วยอย่างยิ่งเกี่ยวกับการนำรูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจไปใช้เพื่อป้องกันปอดอักเสบ  การปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นจาก                 ร้อยละ 73.97 เป็นร้อยละ 90.99  อุบัติการณ์การติดเชื้อปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจและจำนวนวันใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง

จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นผลสำเร็จของพยาบาลวิชาชีพในการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการติดเชื้อปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลระนอง

 

 

References

Centers for Disease Control and Prevention. (2003). Guidelines for Preventing Health Care-

Associated Pneumonia. Recommendation of CDC and the Healthcare Infection Control Practices Advisory Committee.2004; MMWR. 53(RR-03): 1-36.

Centers for Disease Control. (2017). Pneumonia (Ventilator-Associated [VAP] and Non-

Ventilator- Associated Pneumonia [PNEU]) Event. Device-Associated Module PNEU/VAP,1-17.

Heyland, D. K., Cook, D. J., & Dodek, P. M. (2002). Prevention of Ventilator-Associated

Pneumonia: Current Practice in Canadian Intensive Care Units. Journal of Critical Care,17(3), 161-167.

Infection Control Report.( 2020). Ranong Hospital. (in Thai)

Institute for Healthcare Improvement. (2003). The Breakthrough Series : IHI’s Collaborative

Model for Achieving Breakthrough Improvement. Boston, 1-20.

Klinchet N,Swangjit S.(2018). Patients’ Peadiness with Success in Weaning from Mechanical

Ventilation. Journal of Royal Thai Army Nurses, 24(2): 79-91.(in Thai)

Lim, K. P., Kuo, S. W., Ko, W. J., Sheng, W. H., Chang, Y. Y., Hong, M. C., Chang, S. C.

(2015). Efficacy of Ventilator-Associated Pneumonia Care Bundle for Prevention of Ventilator- Associated Pneumonia in the Surgical Intensive Care Units of a Medical Center. Journal of Microbiology Immunology Infection, 48(3), 316-321.

Panida K,Tongpran N,Srisuda A. (2017). Effects of the Development for Promotional

Program for the Implementation of Ventilator Associated Pneumonia Prevention-

Guidelines. Journal of Nursing Division, 44(3): 34-57. (in Thai)

Sirirat N, Niramol O, Kanlayanee, N. (2020). Development of Patients with Ventilator Care

Model to Prevent Ventilator Associated Pneumonia In Ranong Hospital. Journal of Royal Thai Army Nurses, 21(2): 295-304. (in Thai)

Wisetsiri P, Unahalekhaka A, Kasatpibal N. (2015). Development of a Model for Promoting

Practices to Prevent Drug-resistant Organisms Infections among Nursing Personnel, Medical Department of a Tertiary Care Hospital. Nursing Journal, 42(3): 119-34. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29