ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ ระยะเวลา การรับรู้ความสามารถตนเอง ต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้ใช้สมาร์ทโฟน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • Chuleeporn Heetakson,
  • Onanong numpha
  • Sudarat Promwong
  • Jetpreeya Krikayai
  • Supada Niyom
  • Aunthika Thimpho
  • Aunchisa Thongsarn
  • Santi Petchnui

คำสำคัญ:

อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, การใช้สมาร์ทโฟน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ ระยะเวลา การรับรู้ความสามารถตนเอง ต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้ใช้สมาร์ทโฟน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตน และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเกิดกลุ่มอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า

  1. 1. กลุ่มตัวอย่างมีความถี่ในการใช้สมาร์ทโฟนทุกวัน ร้อยละ 70 ใช้สมาร์ทโฟนในแต่ละวัน ส่วนใหญ่มากกว่า 3 ชั่วโมง ร้อยละ 69.20 ใช้เล่นโซเชียล/พูดคุยผ่านโลกออนไลน์ เพื่อศึกษาค้นคว้าหาความรู้ เพื่อความบันเทิงและส่งงานผ่านอีเมล์ ร้อยละ 53.80 อาการในรอบ 6 เดือนจากการใช้สมาร์ทโฟนพบมากที่สุด คือแสบตา/ คันตา/ ตาแห้ง/ เคืองตา ร้อยละ 9.60 ส่วนการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อย อยู่ในระดับมาก(M= 3.15, SD.= 0.66) และพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อยู่ในระดับปานกลาง (M=2.74, SD.=0.74)
  2. 2. ความถี่ในการใช้สมาร์ทโฟน และการรับรู้ความสามารถตนเองในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ส่วนระยะเวลาในการใช้สมาร์ทโฟนในแต่ละวันมีความสัมพันธ์ กับพฤติกรรมการป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อของผู้ใช้สมาร์ทโฟน(r = .14, p-value <.01)

ควรมีการส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในการป้องกันอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการใช้สมาร์ทโฟน โดยผ่านการดำเนินงานเชิงนโยบายหรือองค์กรของนักศึกษาเพื่อให้เกิดความตระหนักในปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากอาการปวดเมื่อยจากการใช้สมาร์ทโฟน

References

Best, JW. (1977). Research in Education. Englewood Cliffs, New Jersey.

Electronic Transactions Development Agency. (2018). Report of the internet user behavior survey in Thailand

Bangkok. (in Thai)

Kitisri, C., Nokham, R., & Phetcharat, K. (2017). A Smartphone Using Behavior and Health Status Perception of

Nursing Students. Journal of Community Health Development Khon Kaen University, 5(1), 19-34. (in Thai).

Krejcie, RV., & Morgan, DW. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Edu Psychol Meas. (in Thai).

National Statistical Office. (2018). Important Summary of Household Appliances using Information and

Communication Technology Survey 2018 (1st quarter). Forecasting

Division Bangkok. (in Thai)

Pochana, K., & Sungkhapong, A. (2014). Prevalence and Related Factors Affecting Musculoskeletal Disorders

(MSDs) in Notebook Computer Users: A case study of Engineering Students, Prince of Songkhla

University, Hat Yai Campus. Journal Public Health, 44(2), 162-173. (in Thai).

Thanasomboonpan, N., Boonpiyawon, R., & Jorrakate, C. (2020). How to prevent neck pain from smartphone

overuse. Siriraj Med Bull 2020,13(2),113-119

Waongwaiwanit, K. (2018). Embined with the Risk of Headache.https://www.posttoday.com/life/healthy/385757.

(in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30