การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • Onanong Okong กลุ่มงานการพยาบาลวิสัญญี โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ผู้ป่วยโโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง, การผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง และ 2) เพื่อศึกษาและพัฒนาแนวทางการให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง จากแบบบันทึกข้อมูลกรณีศึกษาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ครอบคลุมเนื้อหาของข้อมูล ผลการศึกษา พบว่า

  1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง ต้องได้รับการดูแลในระยะต่าง ๆ คือ  

                    1.1 ระยะก่อนให้ยาระงับความรู้สึก พบว่ามีปัญหาที่ 1) ผู้ป่วยมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัดในระดับสูง  และ 2) ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเนื่องจากกลัวการให้ยาระงับความรู้สึกและผ่าตัดสมอง

                    1.2 ระยะนำสลบและใส่ท่อช่วยหายใจ พบว่ามีปัญหา 1) อาจเกิดภาวะเนื้อเยื่อของร่างกายขาดออกซิเจนจากการใส่ท่อช่วยหายใจที่ใช้เวลานานทำให้สมองได้รับออกซิเจนลดลงเกิดภาวะสมองบวม  และ 2) อาจเกิดภาวะความดันโลหิตสูงจากการใส่ท่อช่วยหายใจและขณะใส่ลวดแข็งยึดศีรษะ

         1.3 ระยะดำเนินการให้ยาระงับความรู้สึก พบว่ามีปัญหา 1)  เสี่ยงต่อการเกิด Vascular & Nerve Injury จากการจัดท่า  2) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะช็อคจากการสูญเสียเลือด  3)เสี่ยงต่อภาวะ Light Anesthesia และรู้สึกตัวขณะผ่าตัดได้  4) เสี่ยงต่อภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำจากการผ่าตัดที่ยาวนานในห้องผ่าตัดที่เย็น  และ 5) ผู้ป่วยมีภาวะโปแทสเซียมในเลือดต่ำว่าปกติ

          1.4 ระยะหลังการให้ยาระงับความรู้สึก พบปัญหา 1) ผู้ป่วยไม่สามารถถอดท่อช่วยหายใจได้จากการทำผ่าตัดนานและมีภาวะไม่สมดุลของสารน้ำและอิเลคโทรลัยท์

  1. ได้แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ได้รับยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัดหนีบหลอดเลือดสมองโป่งพอง ซึ่งกิจกรรมการพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับมีความสอดคล้องจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในระยะก่อนให้ยาระงับความรู้สึก ระยะนำสลบและใส่ท่อช่วยหายใจ ระยะดำเนินการให้ยาระงับความรู้สึก และระยะหลังการให้ยาระงับความรู้สึก

References

Connolly, S. , Carhuapoma, R,. Higashida, R., & Kirkness, C,. (2012). Guidelines for the

Management of Aneurysmal Subarachnoid Hemorrhage. 43: 1711-1737. DOI:

1161/STR.0b013e3182587839

Diringer, M. N., & Zazulia, A. R. (2017). Aneurysmal subarachnoid hemorrhage: Strategies

For preventing vasospasm in the intensive care unit. In seminars in respiratory and

critical care medicine, 38(6), 760-767.

Hockel, K., Diedler, J., Steiner, J., Birkenhauer, U., Danz, S., Ernemann, U., & Schuhmann, M. U. (2016). Long-term,

continuous intra-arterial nimodipine treatment of severe vasospasm after aneurysmal subarachnoid

hemorrhage. World neurosurgery, 88, 104-112.

Larsen, C. C., & Astrup, J. (2013). Re-bleeding after aneurysmal subarachnoid hemorrhage:

a literature review. World neurosurgery, 79(2), 307-312.

Lin, B. F., Kuo, C. Y., & Wu, Z. F. (2014). Review of aneurysmal subarachnoid hemorrhage—

Focus on treatment, anesthesia, cerebral vasospasm prophylaxis, and therapy. Acta

Anaesthesiologica Taiwanica, 52(2), 77-84.

P, Khanistha, & Muntraporn,N (2015). Development of Clinical Nursing Practice Guideline

for General Anesthesia in Cerebral Aneurysm Clipping at Chaoprayayomarat

Hospital Journal of Nursing and Health Care, 33(1), 154-165.

Pumsaimoon, N,. (2017). Risk Factors of Major Cardiovascular Complications during

Surgery among Elderly Patients in Vachira Phuket Hospital Region 11 Medical

Journal, 31(4), 675-684.

Shah, K. B., Chen, L., Qian, L. B., Shrestha, S., & Jaiswal, S. K. (2018). Aneurysm clipping and

outcome for Hunt & Hess grade 4, 5 subarachnoid hemorrhage—A literature

review. Open Journal of Modern Neurosurgery, 8(02), 215-232.

Shrestha, R, (2019). Anesthetic Management of Cerebral Aneurysm Surgery.

Egneuro,1(2), 21-28.

Srikaew, S., (2018) Factors related to delayed cerebral ischemia in patients with

aneurysmal subarachnoid hemorrhage J Med Health Sci Journal of Medicine and Health Sciences, 25(1),

-117.

Vivancos, J., Gilo, F., Frutos, R., Maestre, J., Garcia-Pastor, A., Quintana, F., & de Leciñana,

M. A. (2014). Clinical management guidelines for subarachnoid haemorrhage.

Diagnosis and treatment. Neurología (English Edition), 29(6), 353-370.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-29