การพัฒนาและประเมินประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำ
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : แนวปฏิบัติ, การส่งต่อทางน้ำ, ประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำ ศึกษาความเป็นไปได้และความพึงพอใจของการใช้แนวทางการดูแลผู้ป่วยส่งต่อทางน้ำที่ได้พัฒนาขึ้น และประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำ กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเกาะพีพีทั้งหมด จำนวน 13 คน 2) ผู้ป่วยที่ได้รับการส่งต่อทางน้ำ จำนวน 15 คน ตัวอย่างทั้ง 2 กลุ่มได้จากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แนวทางปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2563 ถึงกุมภาพันธ์ 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา ดังนี้
แนวทางปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 เตรียมการส่งต่อผู้ป่วย โดยการประเมินอาการ ให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติ ประสานงานสถานพยาบาลที่จะรับผู้ป่วย เตรียมเอกสารของผู้ป่วยที่จะส่งต่อ เตรียมและตรวจสอบ อุปกรณ์ ยา เวชภัณฑ์และเรือพยาบาล และให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วย ขั้นที่ 2 ดำเนินการระหว่างส่งต่อผู้ป่วย ด้วยการประเมินอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย ให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ตัดสินใจในภาวะฉุกเฉิน และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยให้โรงพยาบาลที่รับผู้ป่วยทราบ และขั้นที่ 3 การส่งมอบผู้ป่วย เอกสาร พร้อมผลตรวจต่างๆ ให้แก่โรงพยาบาลปลายทาง ในการนำแนวปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยไปใช้มีความเป็นไปได้ มากถึงมากที่สุด พยาบาลส่งต่อมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการส่งต่อผู้ป่วยทางน้ำในระดับมากที่สุด ร้อยละ 72.7 รองลงมามีความพึงพอใจมาก ร้อยละ 27.3 ประสิทธิผลการส่งต่อผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 100 ทั้งนี้ ได้รับการรักษาทันเวลาและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน ไม่พบว่ามีผู้ป่วยเสียชีวิต
References
Institute of Emergency Medicine. (2016). Internality Patient Transfer. Nonthaburi: Ultimate Printing.)
American College of Critical Care Medicine. (2004). Guidelines for the Inter and Intrahospital Transport of Critically Ill Patients. Critical Care Medicine, 32(1), 256-262.
Austraralasian College for Emergency Medicine. (2003). Minimum standards for Intrahospital Transport of Critically Ill Patients. Emergency Medicine, 15, 202–204.
Beckmann, U., Gillies, D.M., Berenholtz, S.M., Wu, A.W., & Pronovost, P. (2004). Incidents Relating to the Intra–Hospital Transfer of Critically Ill Patients. Intensive Care Medicine, 30, 1579–1585.
Caruana,M., & Culp,K. (1998). Intrahospital Transport of the Critically Ill Adult: A Research Review and Implications. Dimensions of Critical Care Nursing, 17(3), 146–156.
Danudade, C. (2016). Role and Performance of emergency nurses in advancing into the ASEAN community. Retrieved September 2, 2020, from http://www.bcn.ac.th/web /2011/ Attachment/.
Institute of Hospital Quality Certification (Public Organization). (2015). Hospital Standard & Health Services Royal Thai Chakri Dynasty 60th Anniversary Edition. Bangkok: Deonebook Company Limited
Koh Phi Phi Hospital. (2019). Referal System of Koh Phi Phi Hospital. Karbi Province: Koh Phi Phi Hospital. (in thai)
Kritbunchu, M., Yanasukon, N., & Kiattisikamon, k. (2012). Effects of Nursing Practice for Transporting Critical Emergency Patients into Hospitals. Bangkok: Siriraj Hospital.
Nantiya, R. & Krittaya, D. (2016). Development of Caring System for Patient with Life-Threatening in Emergency Department, Naradhiwasrajanakrindra Hospital. Journal of Naradhiwasrajanakrindra University, 8(2) ; 2-15.
Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2018). Guidelines for the development of the referral system. Bangkok: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (in thai)
Pitichokphokin, J., Srisupanan, M., Chantharomori., M, & Suwan., P. (2019). Developing Critical Emergency Referral Model, Natal Hospital, Ubon Ratchathani Province. Journal of Nursing and Healthcare, 37(1); 88-97.
Stetler CB. (2010). Stetler Model. In J. RycroftMalone & T. Bucknall (Eds.) Evidence-based Practice Series. Models and frameworks for implementing evidence-based practice: Linking evidence to action. Oxford : Wiley-Blackwell.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว