การพัฒนานวัตกรรมป้องกันภาวะเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบสำหรับพระภิกษุสงฆ์

ผู้แต่ง

  • มัฏฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • เกรียงไกร สุดเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • จตุพร อึ้งตระกูล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • ชลธิชา หว่องพาณิชย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • ปนัดดา ชัชวงษ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • ปิยะภรณ์ วิทยากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, ภาวะเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบ, พระภิกษุสงฆ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการป้องกันภาวะเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบของพระภิกษุสงฆ์ 2) สร้างนวัตกรรมการป้องกันภาวะเส้นเอ็นเท้าอักเสบสำหรับพระภิกษุสงฆ์ และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรม ดำเนินการตามรูปแบบวิจัยและพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการในป้องกันการเกิดภาวะเส้นเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ และ สังเคราะห์วรรณกรรม ระยะที่ 2 สร้างนวัตกรรม ตามกรอบทฤษฎีวิกฤตพลังงาน ได้แก่ หลักการนวดและหมุน หลักการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หลักการสั่นสะเทือน และหลักสุขภาพพอเพียง และทดลองใช้นวัตกรรม นำผลการใช้มาปรับปรับปรุงแก้ไข ระยะที่ 3 ศึกษาประสิทธิผลของนวัตกรรม ดำเนินการทดลองตามรูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มทดลอง คือ พระภิกษุสงฆ์ วัดวิภาวดีกาญจนา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 15 รูป เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของนวัตกรรม แบบประเมินระดับความปวด และแบบประเมินความพึงพอใจ ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .67 - 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลระดับความปวดฝ่าเท้าก่อนและหลังการทดลอง ด้วยสถิติการทดสอบค่าทีแบบสัมพันธ์ และความพึงพอใจ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบของพระภิกษุสงฆ์ ได้แก่ ดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์ปกติ เดินโดยไม่ได้สวมรองเท้า เวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที มีการบริหารฝ่าเท้าค่อนข้างน้อย และต้องการมีอุปกรณ์ช่วยการบริหารฝ่าเท้าที่เหมาะสม 2) นวัตกรรมสร้างตามกรอบแนวคิด มีส่วนประกอบที่หาได้ง่ายในท้องตลาด ลักษณะ มีฐานวางฝ่าเท้าทำมุมเอียง 45 องศา มีปุ่มนวดและสั่น 2 จุด ได้แก่ ปลายเท้า และ ส้นเท้า 3) ประสิทธิผลของนวัตกรรม พบว่า คะแนนเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดหลังใช้นวัตกรรมลดลงกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการใช้นวัตกรรมภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.47, SD.=0.53)

          นวัตกรรมนี้มีความเหมาะสมในการป้องกันภาวะเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าอักเสบสำหรับพระภิกษุสงฆ์ และควรพัฒนานวัตกรรมให้มีประสิทธิผลและสามารถใช้กับบุคคลอื่นได้

References

Arpanantikul, M. (2018). Sufficient Health. Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 33(2),5-14. (In Thai)

Jitratanaporn, S.& Sriamonruttanakul, T. (2018). The Synthesis of the Research Paper Related to massage to treat Health Problem. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology(Humanisties and Social Science), 4(Special), 236-251. (In Thai)

Leeyutthanont, M., Uraiwan, P., Kaewsakulthong, J., & Saetew,P. (2019). Development of Health Education Model for Monks.(Report). Suratthani, DC: Boromarajonani College of Nursing Suratthani. (In Thai)

Manimmamakorn, N. & Manimmamakorn, A. (2015). Application of Whole Body Vibration as Exercise Training. Srinagarind Medical Journal, 30(2), 70-77. (In Thai)

Palungrit, S. (2020). Health Status and Health Promoting Strategy for Buddhist Monk in Muang District, Pathumthani Province. Journal of Nursing and Health Care, 37(2), 133-142.

(In Thai)

Pender, N., Murdaugh, C., & Parsons, M.A. (2015). Health Promotion in Nursing Practice (7th ed.). Saddle River, NJ: Pearson Education Inc.

Songpra, J. & Tiewwilai, N. (2018). Effective of Adjustable Night Socks for Heel Pain Relief in Nurse at Vajira Hospital. Lampang Madical Journal, 39(2), 55-61. (In Thai)

Somphai, S. & Chatchawan, V. (2010). The Effect of Traditional Thai Massage and Physical Therapy on Planter heel pain related with Myofascial Trigger Point of Calf Muscle: A randomized Controlled. (Report No MMP6) Thailand, DC: The 21st National Graduate Research Conference 27 March, Graduate School Khon kaen University. (In Thai)

Sweeting, D., Parish, B., Hooper, L., & Chester, R. (2011). The effectiveness of manual stretching in the treatment of plantar heel pain: a systematic review. Journal of foot and ankle research. 19(4), 1-13.

Thammawijaya, A. & Assawapalangchai, S. (2013). The Study of the Effects of a Custom-molded Medial Arch support Made form Silicone in patients with Plantar Fasciitis. Journal of Thai Rehabilitation Medicine, 23(3), 87-93. (In Thai)

Thanasupakornkul, P. (2019). The cuurent concept of plantar fasciitis treatment. The Public Health Journal of Burapha University,14(1), 154-158. (In Thai)

Tongterm, T. (2010). Attitude on Physical Activity of Elderly Monks in Sisaket Provice. Journal of Health, Psysical Education and Recreation, 46(2),329-342. (In Thai)

Thomas, J.L., Christensen, J.C., Kravitz, S.R., Mendicion, R.W., Schuberth, J.M., Vanore, J.V.,et al. (2014). The diagnosis and treatment of heel pain: A clinical practice guideline-revision 2010. The Journal of Foot and Ankle Surgery, 49(3), S1-S19.

Yamsri, C., Pensri, P., Boonyoung, S., Romsai, W., & Rattanapongbundit, N. (2013). Effect of kinesio taping combined with stretching on heel pain and foot functional ability in person with plantar fasciitis: A preliminary study. Chulalongkorn Medical Journal, 57(1); 61-78. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28