การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ณิสาชล นาคกุล ศูนย์บริการสาธารณสุขบึงขุนทะเล เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • ปานดวงใจ เสนชู ศูนย์บริการสาธารณสุขบึงขุนทะเล เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลสุขภาพ, ผู้สูงอายุติดเตียง, ผู้ดูแลหลัก

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี  จ.สุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของการใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี  จ.สุราษฎร์ธานี  ผู้วิจัยดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาปัญหาและความต้องการของผู้ดูแลผู้สูงอายุติดเตียง 2) การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยผู้ดูแล และ 3) การทดลองใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก4) การประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุโดยผู้ดูแลหลัก ผลการวิจัย พบว่า

  1. รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานีใช้รูปแบบการสอน Joyce and Well ประกอบด้วย 1) การศึกษาแนวคิดและองค์ประกอบที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง 2) การกำหนดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ เช่น หลักการ จุดมุ่งหมาย ขั้นตอนและกิจกรรมการสอน การวัดและประเมินผล 3) ตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน  และ 4)การปรับปรุงรูปแบบการสอน จึงได้คู่มือการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี  ประกอบด้วย 1) หลักการและเหตุผล  2) วัตถุประสงค์ของคู่มือ 3) เนื้อหา 4) รูปแบบหรือวิธีสอนจะใช้วิธีการบรรยาย  การดูวิดิทัศน์  การแสดงบทบาทสมมุติ  การประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้5) สื่อประกอบการเรียน และ 6) การประเมินผล
  2. ประสิทธิผลการทดลองใช้รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลัก เขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้สูงอายุติดเตียงลดลง  และผู้ดูแลหลักมีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.31,SD=.35)

           จากผลการศึกษาทำให้ได้รูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุติดเตียงโดยผู้ดูแลหลักทำให้ผู้สผู้แลมีความพึงพอใขในกิจกรรมและสามารถลดภาวะแทรกซ้อนได้ จึงควรนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบท

References

Department of Health. (2020). Manual of Guideline for Care Manager Curriculum, Ministry

of Health. Bangkok: Sanjan Publishing Co.Ltd.

Eamsamai, S., Mhuansit, R. & Thongmag,. C. (2014).An Elderly Care Model among

Caregiving Volunteers at Phukrang Municipality, AmphurPraputthabat, Saraburi

Province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 22(3), 77-87.

Eliopoulos, C. (2005). Gerontological nursing. (11thed.). Philadelphia: Lippincott

William & Wilkins

Joyce, B. & Weil, M. (1985). Models of teaching. (5thed). Boston: Allyn and Bacon.

Kumsuchart, S. (2017). Health Problem and Health Care Need among Thai Elderly: Policy

Recomendatin. .Journal of Health Science, 26(6), 1156-1164.

Mahamad, P. (2018). Knowledge, Attitude and Principle of Caregiver in Elderly Disability

Care in Sungaikolok, Narathiwas. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine,

Retrieved April 15, 2018, from https://www.journalggm.org/view-article-17/

Ministry of Health.(2016). Strategy Plane of Ministry of Health. 2016. Retrieved April 15,

, from

http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/mophplan_2559_final_0.pdf

National Health Security Office. (2015). Manual Long term care Systemin National Health

Security System Fiscal 2016.

Ngoichansri, J., & Kongtaln, O. (2012). Development of Continuing Care for the Home –

Bound and Bed – Bound Elders in Phetchabun Municipal Community. Retrieved

April 15, 2018, from https://gsbooks.gs.kku.ac.th/55/cdgrc13/files/mmo14.pdf

Pretty, J. N., Guijt, I., Thomson, J., &Scoones, I. (1995). Participatory learning & Action:

A trainers’ guide. London: IIED. Participatory Methodology Series I. liED.

Promotion Department, Surat Thani Municipatory, (2019). Report.,

Phalasuek, R. & Thanomchayathawatch, B. (2017). A Family Model for Older People Care.

The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3); 135-150

Phuttharaksa, L. (2013). Model of Developing Elder Care Taker user Self-Directed

Learning and Knowledge Management Process. Research Educational Journal,

Srinakharinwirot University, 7(2), 195-210.

Stufflebeam and Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models and Applications.

John Wiley and Son, Ine.

Thai Ageing Research and Development Foundation. (2018). Thai Ageing Situation Report,

Retrieved April 15, 2018, from https://thaitgri.org/?p=38670

Wutikorn, K. (2016). Competency Development Pattern for Elderly Caregivers.

Organization Development and Human Capacity Management. Dissertation.

Burapha University. Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28