การศึกษาความแตกต่างปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ กับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ของประชาชน ในอำเภอแห่งหนึ่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ความรู้, พฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ พฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ และศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ กับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีอายุ 18-79 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความชุกในการสัมผัสบุหรี่ จำนวน 416 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างมีระบบ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ และพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม เปรียบเทียบความแตกต่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 53.0 มีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายบุหรี่ในระดับสูง ร้อยละ 45.4 และมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับบุหรี่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 47.6 พฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ พบว่า การไม่โอบกอด/ไม่หอมแก้มกับบุคคลที่สูบบุหรี่ (M=3.24, SD.=.82), การอยู่ในสถานที่ที่มีควันบุหรี่จะรีบปฏิบัติกิจกรรมให้เสร็จเพื่อลดการสัมผัสควันบุหรี่ (M=2.79, SD.=.89) และไม่มีผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำในสถานที่ทำงาน (M=2.76, SD.=.91) และพบว่า เพศ สถานภาพการสมรส และการมีบุคคลที่สูบบุหรี่ในบ้านจะมีพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) ดังนั้น ควรมีมาตรการทางสังคม ได้แก่ การควบคุมการบริโภคบุหรี่ในที่สาธารณะ และควรมีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการสัมผัสบุหรี่ให้ต่อเนื่องและมากขึ้น
References
Action on Smoking and Health Foundation. (2014). International Tobacco Control Policy Survey
Southeast Asia: ITCSEA (Thailand). Bangkok. (in Thai)
Becker, M.H. & Maiman, L.A. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior.
Health Education Monographs. 2,4 winter: 354-385.
Bloom, B.S., Hastings, T. J., Madaus, G. F. (1971). Hand Book on Formative and Summative
Evaluation of Student Learning. New York: McGraw – Hill Book Company Inc.
Chaikoolvatana, C., Sutti, P. & Jaimalai, W. (2017). Smoking Behavior and Risk Factors Associated
with Smoking of Early Adolescents in Phayao Province, Thailand. Nursing Journal of the
Ministry of Public Health. 27(3), 57-67.
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2017). The Tobacco Products
Control Act of 2017; Issue published in the Royal Gazette. Nontaburi: Thammasat
Printing House. (in Thai)
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities.
Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.
Manoton, A., Noosorn, N., Nimpitakpong, P. & Kanokthet. (2014). Factors Affecting Secondhand
Smoke Exposure in Migrant Workers and Their Families. Journal of Nursing and Health
Sciences, 8(3: Supplement), 135-144.
Nakhon Si Thammarat Provincial Public Health Office. (2019). Annual Report 2019. Nakhon Si Thammarat.
(in Thai)
Payomyam, S. (2002). Practice Psychology in Community Work. Silpakorn University: Nakorn Pathom. (in Thai)
Phintana, Y., Jaruchawarit, P., Waikhasikon, M. & Thaweesablomleak, W. (2019). Factors Affecting
Smoking Behavior of Buddhachinaraj Hospital Phitsanulok Staff. Research Report Hospital
Phitsanulok. Phitsanulok. (in Thai)
Population Social Research, Institute Mahidol University (2020). Thai health 2020, two decades,
reforming Thai education failure and success. Institute Mahidol University. Bangkok: Amarin
Printing & Publishing. (in Thai)
Punthasee, P. & Srisawad, K. (2020). Correlations between Health Belief and 3E 2S Health
Behaviors of Elderly in Taejew Community Tungwatdorn Sathorn Bangkok Thailand. Journal
of Health and Health Management, 6(1), 45-57.
Singhasenee, U. & Boonchoochuay, R. (2015). Relationship Between Knowledge, Attitudes Toward
Smoking and Smoking Behavior Among Male Officers, Royal Thai Air Force. Thai Journal of
Nursing, 64(1), 45-52.
Suwanwaiphatthana, W., Waithayavongkorn, N. & Aunjangwang, W. (2013). The Relationship
Between Knowledge and Attitude of Cigarette Smokers toward Protecting Family Members
from Secondhand Smoke. The Journal of Boromarajonani College of Nursing,
Nakhonratchasima, 19(1), 31-41.
Tobacco Control Research and Knowledge Management Center. (2018). Thailand Tobacco
Consumption Statistics Report 2018. Bangkok: Jarerndeemankong Printing. (in Thai)
Wanitchanon, P., Chamchan, C. & Jampaklay, A. (2018). The Association Between Environmental
and Policy Factors and Successful Smoking Cessation of Thai Smokers. Journal of MCU
Social Science Review, 7(1), 223-235.
Wateesatokgij, W. (2016). Tobacco Addiction Treatment Guide for Nurses. Bangkok: Monpriya
Graphic CO.,LTD. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว