บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่ใช้ยาร่วมกันหลายขนาน:กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ฉันทนา นาคฉัตรีย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • จีราพร ทองดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • ดาราวรรณ รองเมือง วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
  • กฤติยา ชาสุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • เนตรนภา พันเล็ก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การใช้ยาร่วมกันหลายขนาน บทบาทพยาบาล ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การใช้ยาร่วมกันหลายขนานเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุเนื่องจากการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และอาจมีโรคอื่นๆร่วมด้วย ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้ยาหลายชนิดเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาและป้องกันโรค การใช้ยาจำนวนมากร่วมกันอาจส่งผลให้เกิดปัญหา เช่น การเกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา การเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยา  ความร่วมมือในการใช้ยาไม่ดี รวมทั้งพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม ปัญหาเหล่านี้ส่งผลให้ผลลัพธ์การรักษาไม่มีประสิทธิภาพและเกิดอันตรายต่อผู้สูงอายุ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เจ็บป่วยรุนแรง ต้องนอนโรงพยาบาล และเสียชีวิตได้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่สูงขึ้น ทั้งนี้สถานการณ์จากการใช้ยาร่วมกันหลายขนานส่งผลให้เกิดความรุนแรงมากขึ้นในผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายจากความเสื่อมตามวัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชวิทยา ดังนี้ 1) การเปลี่ยนแปลงทางเภสัชวิทยาจลนศาสตร์ ประกอบด้วย การดูดซึมยา การกระจายยา การเปลี่ยนแปลงยา และการขจัดยาทางไต และ 2) การเปลี่ยนแปลงทางเภสัชวิทยาพลศาสตร์ นอกจากนี้โรคเรื้อรังยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสื่อมด้านร่างกายมากยิ่งขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชวิทยาและทำให้ปัญหาจากการใช้ยาร่วมกันหลายขนานมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

              พยาบาลที่ดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับยาร่วมกันหลายขนานจะต้องแสดงบทบาทที่เหมาะสมดังนี้ 1) การประเมินการใช้ยาในผู้สูงอายุ โดยใช้หลักการประเมินผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ ในการรวบรวมข้อมูลให้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตสังคม และสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุ ทบทวนการใช้ยา รวมถึงการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ สมุนไพรต่างๆ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ภายใต้ความเข้าใจเรื่องของการเปลี่ยนแปลงทางเภสัชวิทยาตามวัยและการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 2) การประสานงานกับทีมสุขภาพเพื่อให้การช่วยเหลืออย่างเหมาะสมและทันท่วงทีแก่ผู้สูงอายุ และ 3) การเป็นผู้ให้คำปรึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของผู้สูงอายุ รวมทั้งการให้ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

            บทความนี้มีการทบทวนวรรณกรรม และใช้กรณีศึกษาผู้สูงอายุที่ใช้ยาร่วมกันหลายขนานในชุมชุนที่จะทำให้มองเห็นประเด็นปัญหา และการประยุกต์ความรู้ในการจัดการตามบทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับยาร่วมกันหลายขนานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 

References

American Diabetes Association. (2020). 12. Older adults: standards of medical care in

diabetes-2020. Diabetes Care, 43(Suppl 1), S152-S162.

Baruth, J. M., Gentry, M. T., Rummans, T. A., Miller, D. M., & Burton, M. C. (2020).

Polypharmacy in older adults: the role of the multidisciplinary team. Hospital Practice, 48(sup1), 56-62.Eliopoulos. C. (2018). Gerontological nursing (9th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer.

Chaichanawirote, U., & Vithayachockitikhun, N. (2015). Medication Use Behaviours among Older

Thai Adults. Journal of Nursing and Health Sciences, 9(1), 32-46.

Jidapa, P. (2018). The study of medication memo to support elderly patients with chronic

diseases at pharmacy department, elderly health care center the thai Red Cross

Society. J Gerontol Geriatr Med, 17(3), 46-52.

Jedsadayanmata, A. (2018). Chapter 20 Drugs and Elderly. In N. Saiphoklang (Eds.), Geriatric

Medicine. (pp. 420-429). Pratumtani: Faculty of Medicine Thammasat University.

Lee, P. G. & Halter, J. B. (2017). Diabetes Mellitus. In J. B. Halter, J. G. Ouslander, S.

Studenski, K. P. High, S. Asthana, M. A. Supiano, & C. Ritchie (Eds.), Hazzard's Geriatric Medicine and Gerontology (pp. 1640-1667). (7th Ed). New York: McGraw-Hill.

Meiner, S. E., & Yeager, J, J. (2019). Gerontologic nursing (6th ed.). St.Louis: Elsevier.

Nguyen, T., Wong, E., & Ciummo, F. (2020). Polypharmacy in older adults: practical

applications alongside a patient case. The Journal for Nurse Practitioners, 16(3),

-209. (in Thai)

Panyathorn, K., & Beengmum, N. (2019). Medication Use Behaviors in the elderly patient with

Chronic disease at Chomsri village, Udonthani Province. Udonthani Hospital Medical Journal, 16(3), 205-209. (in Thai)

Rivera, J. A., Conell-Price, J., & Lee, S. (2014). Diabetes. In B. A. Williams, A. Chang, C.

Ahalt, H. Chen, R. Conant, C. Landefeld, C. Ritchie, & M. Yukawa (Eds.), Current Diagnosis & Treatment: Geriatrics (pp. 303-313). (2nd Ed). New York: McGraw-Hill.

Ruangritchankul, S. (2018). Polypharmacy in the Elderly. Ramathibodi Medical Journal, 41(1),

-104. (in Thai)

Suwiwittawat, C., (2017). Nursing Process Utilization to Prevent Interaction Food and Drug in

the Elderly Patient. Songklanagarind Journal of Nursing, 37(1), 131-136. (in Thai)

Tetley, J., Cox, N., Jack, K., & Witham, G. (Eds.). (2018). Nursing Older People at a Glance.

New Jersey: Wiley Blackwell Tipkanajanaraykha, K., & Saleekul, S. (2019). Role of Nurses

in Prevention and Management of Inappropriate Medication Use in Older Adults. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(1), 31-39. (in Thai)

Thavornwattanayong, W., Anothayanon, J., Reungsakul, N., Sriphiromrak, P., & Chomjan, R. (2011). High-risk Medication use in Thai Elderly Patients: Case Study in Wangtaku Subdistrict, Nakhon Pathom. Journal of Health Systems Research 5(2), 187-194. (in Thai)

Tipkanajanaraykha, K., & Saleekul, S. (2019). Role of Nurses in Prevention and

Management of Inappropriate Medication Use in Older Adults. Journal of The

Royal Thai Army Nurses, 20(1), 31-39. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-28