ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับความตั้งใจในการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรกของมารดาหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • ทิพาวรรณ สมจิตร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • นวภรณ์ ดอกชะบา
  • มัทนา พรมรักษา
  • ทัศนีวรรณ กรุงแสนเมือง

คำสำคัญ:

คำสำคัญ:  การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่กับความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรกของมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างมารดาหลังคลอดที่พักฟื้นในโรงพยาบาล จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลทั่วไป การรับรู้ประโยชน์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับรู้อุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .70, .71, .87 และ .75 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

                   ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้ประโยชน์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ความสัมพันธ์บวกกับความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรกของมารดาหลังคลอดในระดับปานกลาง(r = .56, p < .01, r = .67, p < .01 ตามลำดับ)  ส่วนการรับรู้อุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรกของมารดาหลังคลอด อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .01)

References

Buttham, S., Kongwattanakul, K., Jaturat,N. & Soontrapa, S. (2017). Rate and Factors Affecting

Non-exclusive Breastfeeding among Thai Women under the Breastfeeding Promotion Program. International Journal of Women’s Health, 9, 689-694.

Chuprapan, P., Thiangthum, W., & Pichayapinyo, P. (2014). Factors Influencing Exclusive

Breastfeeding within a 6 Months’ Period among Mothers in South Central Region of Thailand. Graduate Research Conference 2014 Khon Kaen University. (in Thai)

Kim,Y., Lee,J .L., Jang, I.S. & Park, S. (2020). Knowledge and Health Beliefs of Gestational Diabetes

Mellitus Associated with Breastfeeding Intention Among Pregnant Women in Bangladesh. Asian Nursing Research ,14, 144-149

Khonsung, P., Yimyam, S., Xuto, P. & Chaloumsuk, N. (2020). Factors Predicting Exclusive

Breastfeeding among Thai Adolescent Mothers at 6-months Postpartum. Pacific Rim International Journal Nursing Research, 25(1), 34-47.

Kuchenbecker, J., Jordan, I., Reinbott, A., Herrmann, J., Jeremias, T., Kennedy, G. et al.

(2015). Exclusive Breastfeeding and its Effect on Growth of Malawian Infants: results from

a Cross-sectional Study. Pediatrics International Child Health, 35(1), 14-23.

Ministry of Public Health. (2020). Report of Percentage Exclusive Breastfeeding in Newborn – 6

months old. Retrieved November 17, 2021, from

https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=4164a7c49fcb2b8c3ccca67dcdf28bd0

National Statistical Office. (2020). Monitoring the Situation of Children and Women: Thai. Multiple

Indicator Cluster Surveys: MICS. National Statistical Office.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. (2006). Health Promotion in Nursing Practice. 5th (ed).

New Jersey: Pearson Education, Inc.

Ritta, W., Tachasuksri, T., Suppasri, P. (2020). Factors Predicting Exclusive Breastfeeding Intention for

Months among Working Mothers in the Industry. The Journal of Faculty of Nursing

Burapha University, 28(3), 66-78.

Srisa-ard, B. (2013). Statistical methods STA researched vol.1 (5th edition). Suweerivasarn co.th, Bangkok.

Thepha, T., Marais, D., Bell, J. & Muangpin, S. (2017). Facilitators and Barriers to Exclusive

Breastfeeding in Thailand: A Narrative Review. Journal of Community & Public Health Nursing is an Open Access, 3(1), 1-9.

UNICEF. (2020). Infant and young child feeding. Retrieved January 3, 2018 from:

https://data.unicef.org/topic/nutrition/infant-and-young-child-feeding

Victora, C,G., Horta, B,L., Loret, d,e., Mola, C,. Quevedo, L., Pinheiro, R,T,. Gigante, D,P. et al. (2015).

Association between Breastfeeding and Intelligence, Educational Attainment, and Income

at 30 years of Age: A Prospective Birth Cohort Study from Brazil. The Lancet Global Health, 3(4), 199-205.

Wansawat,T., Kaleang, N., Phibal,A., Jaisomkorn, R. & Hayeese, W. (2014). Factors Influencing

Intention to Exclusive Breasfeeding for 6 Months of Mothers in Naradhiwat Province.

Nursing Journal, 41, 123-133. (in Thai)

World Health Organization. (2020). Breastfeeding. Retrieved November 17, 2021, from

www.who.int/topics/breastfeeding/en

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27