การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ: การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • จุฬารัตน์ ห้าวหาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์
  • บุญสืบ โสโสม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
  • ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • ศีตรา มยูขโชติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

คำสำคัญ:

การพยาบาล, หญิงตั้งครรภ์, ธัยรอยด์เป็นพิษ, แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

หากหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะธัยรอยด์เป็นพิษไม่ได้รับการรักษาจะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของมารดาและทารกไปจนถึงระยะหลังคลอด การประยุกต์ใช้แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพมาใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะธัยรอยด์เป็นพิษมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะธัยรอยด์เป็นพิษมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ช่วยลดภาวะเสี่ยงและป้องกันภาวะแทรกซ้อน ส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์และการคลอดที่มีคุณภาพ กิจกรรมการพยาบาลดังกล่าวประกอบไปด้วยการประเมินการรับรู้ของหญิงตั้งครรภ์ต่อภัยคุกคามที่เกิดจากภาวะธัยรอยด์เป็นพิษ ประเมินการรับรู้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติพฤติกรรม และช่วยหญิงตั้งครรภ์ในการจัดการกับอุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วและอาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวล และส่งผลให้หญิงตั้งครรภ์ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำ ทำให้หญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีสุขภาพที่แข็งแรง ข้อเสนอแนะคือควรจัดทำแนวปฏิบัติในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะธัยรอยด์เป็นพิษด้วยความร่วมมือจากสหวิชาชีพเพื่อให้เกิดการดูแลแบบองค์รวม

References

Andersen, S. L., & Andersen, S. (2021). Hyperthyroidism in pregnancy: evidence and hypothesis in fetal programming and development. Endocrine connections, 10(2), R77–R86. https://doi.org/10.1530/EC-20-0518

Champion V. L. & Skinner, C. S. (2008). Chapter 3 The health belief model. in K. Glanz, B.K. Rimer & K. Viswanat, (Ed). Health behavior & health education: Theory, research, and practice (pp. 45-65). Jossey-Bass.

Chantamongkol. K. (2017). Nursing care for pregnant women who have complication on medicine, gynecology, and surgery. 2nd ed. Bangkok: Sun Packaging Co.Ltd.

Cunningham, F. G., Leveno, K. J., Bloom S.L., Dashe J. S., Hoffman B. L., Casey, B. N., & Spong, C. Y. (2018). Williams Obstetrics (25th ed.). Mc Graw Hill Education.

Hyer, S. L. (2018). Caring for women with thyroid disorders in pregnancy. British Journal of Midwifery, 28(7), 434-439.

Laemsak, P. (2018). Relationships between health belief model and iodine consumption behavior of pregnant women attending Antenatal Unit at Khao Panom Hospital, Khao Panom District, Krabi Province. Journal of Southern Technology, 8(2), 39-45.

Oangkanawin, P. (2016). Promotion and development of the fetal brain. Veridian E-Journal and Technology Silpakorn University, 3(6): 162-171.

Petcharoen, S., & Warunyuwong, C. (2001). Thyroid storm after cesarean section in pregnant woman with untreated hyperthyroidism. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology, 13(1), 43-45.

Pholyiam, R. & Wattananukulkiat, S. (2016). Effect of health belief based education program on health behavior among pregnant women at risk for gestational diabetes mellitus. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhonratchasima, 22(1),77-92.

Oangkanawin, P. (2016). Promotion and development of the fetal brain. Veridian E-Journal, Science and Technology, Silpakorn University, 3(6), 162-171.

Prasert, W. (2015). Management of thyroid nodules and thyroid cancer in pregnant women. Thammasat Medical Jounal, 15(2), 303-311.

Soon, T. K., & Ting, P. W. (2018). Thyroid diseases and diet control. Journal of Nutritional Disorders & Therapy, 8(1), 224. doi: 10.4172/2161-0509.1000224.

Springer, D., Jiskra, J., Limanova, Z., Zima, T., Potlukova, E. (2017). Thyroid in pregnancy: From physiology to screening. Clinical Reviews in Clinical Laboratory Sciences, 54(2): 102-116, doi: 10.1080/10408363.2016.1269309.

Wutthisarn, K., Siriarunrat, S., Tachasksri, T. (2017). Relationships between health beliefs and eating behaviors of pregnant women who had overweight before pregnancy. Chonburi Hospital Journal, 42(1), 19-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27