ประสิทธิผลของแอปพลิเคชัน Caloric ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวสำหรับนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
  • วรวุฒิ แสงทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วรรณิศา เขียวเพชร โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ กระทรวงสาธารณสุข
  • กรองกาญจน์ ทีฆายุวัฒนะ โรงพยาบาลราชบุรี กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชัน Caloric, พฤติกรรมการบริโภค, น้ำหนักตัว

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแอปพลิเคชัน Caloric ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวของนักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน  วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี จำนวน 18 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แอปพลิเคชัน Caloric 2) แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร แบบบันทึกน้ำหนักตัว และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้แอปพลิเคชัน Caloric ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาทุกข้อระหว่าง 3.66-5.00 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความพึงพอใจ โดยการหาได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .91 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Sign Rank Test  

ผลการวิจัยพบว่า

หลังการใช้แอปพลิเคชัน Caloric  นักศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เหมาะสมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนน้ำหนักลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจหลังการใช้แอปพลิเคชัน Caloric อยู่ในระดับมากที่สุด (Mean  = 4.12, SD. = .34) ทั้งนี้ควรนำแอปพลิเคชัน Caloric  ไปทดลองใช้กับนักศึกษากลุ่มที่ไม่ใช่นักศึกษาพยาบาลเพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ทางสุขภาพที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง

References

Andrade, A. M., Coutinho, S. R., Silva, M. N., Mata, J., Vieira, P. N., Minderico, C. S., Teixeira, P. J. (2010). The effect of physical activity on weight loss is mediated by eating self-regulation. Patient Education and Counseling, 79(3), 320-326.

Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Chantawat, K., Kongsuwan, V., & Suttharangsee, W. (2019). The effect of a self-regulation program on attitude toward violence and self-behaviors of adolescent Students. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 33(2),13-28.

Chen, F., J. Sager, G. Corbitt and S. Kent. (2008). The effects of using a tablet PC on teaching and learning processes. Retrieved Jun 15, 2021, from http://aisel.aisnet.org/amcis 2008 /262/

Mahidol, Thai Health Promotion Foundation, National Health Commission Office. (2021).The 6th Survey of Thai Public Health by Physical Examination 2019-2020. Nakhon Pathom: Institue for Population and Social Research, Mahidol University.

Nithitantiwat, P., & Udomsapaya, W. (2017). Food consumption behavior among Thai adolescents, impacts, and solutions. Journal of Phrapokklao Nursing College, (28)1,122-127

Nudla, P., Jittanoon, J., & Balthip, K. (2017). Impact of an internet-mediated over-consumption self-reminding programme on the body weight and consumption behaviour of overnutrition adolescents. Thai Journal of Nursing Council, 32(1),32-46.

Thamlikitkul, S., & Sinudompol, S. (2018). Problems and barriers, and the approaches to solve in losing weight of obese nursing students at Kuakarun Faculty of Nursing in Navamindradhiraj University. Kuakarun Journal of Nursing, 23(2), 7-30.

Winaiprasert, P., & Mamom, J. (2019). Development the required daily nutrition applications (NuTu-App) to promote nutrition status in patients with pressure ulcers. Thai Science and Technology Journal, 27(3),485-498.

Wisapha, C., Wiroonpanich, W., & Wattanasit, P. (2020). The effects of a weight control mobile application on food consumption behavior, physical activity, and the body weight of overweight adolescents. Journal of The Police Nurses, (12)1, 73-85.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22