ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพต่อความรู้ พฤติกรรม และน้ำหนักของเด็กวัยรุ่นตอนต้น
คำสำคัญ:
โปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพ, เด็กวัยรุ่นตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้ พฤติกรรมด้านการเสริมสร้างสุขภาพ และน้ำหนักตัวของเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกิน ก่อนและหลังรับโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพ ประชากร คือ เด็กวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินที่เรียนในระดับมัธยมต้น โรงเรียนวิสุทธรังษี จำนวน 375 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินในโรงเรียนวิสุทธรังษี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนวิสุทธรังษี ที่ผ่านการประเมินจากกราฟการเจริญเติบโต อายุ 12-14 ปี แล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ท้วมขึ้นไปถือว่ามีภาวะโภชนาการเกิน 2) ไม่มีโรคประจำตัวที่จะเป็นอันตรายและอุปสรรคต่อการเข้าร่วมกิจกรรม3) ผู้ปกครองยินยอมให้เข้าร่วมกิจกรรมตลอดโปรแกรม 4) นักเรียนสมัครใจและยินดีเข้าร่วมโปรแกรมจนสิ้นสุดการทดลอง กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยโดยใช้ตารางประมาณค่าอำนาจการวิเคราะห์ทางสถิติ และขนาดของความสัมพันธ์ของตัวแปร ที่ .60 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 21 คน เพื่อป้องกันการสูญหายของกลุ่มตัวอย่างที่เกิดขึ้น จึงเพิ่มขนาดของกลุ่มตัวอย่างอีกร้อยละ 20 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วยโปรแกรมการเสริมสร้างสุขภาพด้านโภชนาการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1)แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ด้านการเสริมสร้างสุขภาพ 3) แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมด้านการเสริมสร้างสุขภาพ 4) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ dependent sample t-test ผลการวิจัย พบว่า
1. ความรู้ และพฤติกรรมด้านการเสริมสร้างสุขภาพ ของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพมีค่าสูงขึ้นหลังจากได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. น้ำหนักของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. เด็กวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพมีความพึงพอใจต่อการได้รับโปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพระดับมากที่สุด
จากผลการศึกษาทำให้ได้โปรแกรมเสริมสร้างสุขภาพสำหรับวัยรุ่นตอนต้นที่มีน้ำหนักเกินไปใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะน้ำหนักเกิน
References
Namyota, C,Wongprachum, K.,Toontom,N,.&Bourneo, N. (2022). Effects of a nutritional-promoting program on reducing prevalence of overweight and obesity in school-age children. J Sci Technol MSU, 5(1)49-61.(in Thai)
Lueamsaisuk, C. &Puechphol,W.(2018). Nutritional Knowledgeand Healthy Food Eating Behaviors of Students in Surat Thani Rajabhat University. Panyapiwat Journal, 10(3), 73 – 83. (in Thai)
Thongtaeng, P. &Seesawang,J (2012). Overweight in Thai Children. Rama Nurs J,18(3), 287 – 297.(in Thai)
Sanprick, S,. (2017). Effects of Behavior Modification Program on Overweight on Matayomsuksa 1 students, Kagornkieansuksa, PhuketProvinceCommunity Health Development Quarterly Khon Khan University.5(2), 297-314. (in Thai)
Khanteerueng, P., (2014). Weight control curriculum development for Matayomsuksa 1 students, DepsirinklongsipsamPhatumthaniSchool .Master degree of Curriculum Research and Development Pro. Rajamangala University of Technology. (in Thai)
ThanyaburPitayatienanan,P et al , (2011). Impact of Overweight and Obesity on Health-care Costs in Thailand, Research Report. Journal of Health Systems Research.(in Thai)
Pichairat, A &Tiparat, W., (2014). Effectof Health Alliance Programon Food Consumption and ExerciseBehaviors, and Weight of Obese School Aae Childrenin Rural Area, Trang Province, Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 30(3), 64-76.(in Thai)
Sankhatip, A, &Lowiraporn ,S(2560). Food Consumption Behavior and Nutritional Status of Secondary School Students in Kudpladug Sub-district, Chuenchom District, Mahasarakham Province, Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University ,9(1), 178 – 189.(in Thai)
Bunnag, A. Sangperm, P,Jungsomjatepaisal, W, Pongsaranunthakul, Y, Leelahakul, V, (2012).The Effects of Behavioral Modification for Eating and Exercising Behavior in Overweight Adolescents. J Nurs Sci,30(4), 37-48.(in Thai)
Chaboonraung, S., Rodcumdee,B. (2014).Effects of A Self –Efficacy Promoting Program by Peer Group on Food Consumption and Physical Exercise Behavior in Overweight Early Adolescents.Journal of Nursing and Health Care, 32(3) 119-126.(in Thai)
Bandura, A. (1994). Self-efficacy. New York: Academic Press (Reprinted in H.
Davison, K. K., & Birch, L. L. (2001). Childhood overweight: a contextual model and recommendations for future research. Obesity reviews: an official journal of the International Association for the Study of Obesity, 2(3), 159–171. https://doi.org/10.1046/j.1467-789x.2001.00036.x
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว