การออกกำลังกายที่มีผลต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ : การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • วัลลภา ดิษสระ -
  • พรรณี บัญชรหัตถกิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมชนก
  • จีราพร ทองดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมชนก

คำสำคัญ:

การออกกำลังกาย, การทรงตัว, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ความสำคัญของปัญหา : สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมของร่างกาย ความแข็งแรงและมวลของกล้ามเนื้อลดลง  การออกกำลังกายที่เหมาะสม สามารถเพิ่มความยืดหยุ่น การทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ป้องกันการหกล้มและอุบัติเหตุได้  วัตถุประสงค์ : เพื่อทบทวนอย่างเป็นระบบการออกกำลังกายต่อการทรงตัวของผู้สูงอายุ ระเบียบวิธีการวิจัย : ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบของงานวิจัย  โดยทำการสืบค้นบทความจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Google Scholar, ThaiLIS และ PubMed  ปี พ.ศ. 2560 – 2565 กำหนดคำสำคัญสำหรับการสืบค้นตามกรอบ PICO  ดังนี้ การออกกำลังกาย, การทรงตัว,  ผู้สูงอายุ, Exercise, Balance, Elderly และพิจารณาคุณภาพงานวิจัยเพื่อประเมินความน่าเชื่อถือของ งานวิจัย โดยใช้แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยของเฮลเลอร์  ผลการวิจัย : บทความวิจัยได้ผ่านการคัดกรองตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพงานวิจัย คงเหลืองานวิจัยที่ใช้ในการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 15 เรื่อง งานวิจัยทั้งหมดใช้รูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วย 2 กลุ่ม ชนิดวัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ การออกกำลังการมีหลายประเภท ได้แก่ ไม้ยืดหยุ่น ออกกำลังกายประกอบดนตรี และกิจกรรมการออกกำลังกายฝึกความแข็งแรงและการทรงตัวประเภทต่าง ๆ โดยใช้ประเมินความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ ประเมินการทรงตัว ประเมินสมรรถภาพของกล้ามเนื้อประเมินความยึดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ  สรุป : การออกกำลังกาย ผลลัพธ์ คือเพิ่มความสามารถในการทรงตัวขณะมีการเคลื่อนไหว และขณะอยู่นิ่ง ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความเสี่ยงในการหกล้มของผู้สูงอายุ  การออกกำลังกายแต่ละประเภทให้ประสิทธิภาพการทรงตัวที่ แตกต่างกันผู้สูงอายุควรเลือกประเภทของการออกกำกายให้เหมาะสมกับตนเอง และเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยป้องกันการหกล้มได้ โดยเลือกการออกกำลังกายที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การประสานงานของร่างกาย การเคลื่อนไหว และความยืดหยุ่น

References

Achariyacheevin, C. & Choosakul, C. (2021). Effects of Social Dance Exercise on Body Balance and Stress in Elderly. Academic Journal of Community Public Health, 7(02), 17-17. (In Thai)

Cheewakul, C. (2021). Effects of Exercise by Applying Otago Exercise Program with Health Belief Model for Fall Prevention Behaviors in Elderly. Medical journal of Srisakt Surin Buriram Hospitals, 36(3), 597-608. (In Thai)

Department of Elderly Affairs Ministry of Social Development and Human Security. (2019). Measures to drive the agenda National issue of Aging Society (Revised Edition). Edition : 2 Amarin Printing and Publishing Public Company Limited, Bangkok.

Guralnik, J.M., Simonsick, E.M., Ferrucci,L. et al.,(2018). A Short Physical Performance Battery Assessing Lower Extremity Function: Association with SelfReported Disability and Prediction of Mortality and Nursing Home Admission, Journals of Gerontology Medical Science, 49(2), 85-94.

Institute of Geriatric Medicine, Department of Medicine. (2015). Guidelines for the care of the elderly (Geriatric Syndrome). Bangkok: Institute of Geriatric Medicine, Department of Medical Services, Ministry of Public Health;

Johnson, B.G., Wright, A.D., Beazley, M.F., Harvey, T.C., Hillenbrand, P., & Imray, C.H. (2005). The Sharpened Romberg test for assessing ataxia in mild acute mountain sickness. Wilderness Environ Med.16(2), 62-6.

Kaewmok, W. (2017). The Effect of the Maneevej Exercise Technique on Body Balancing,

Flexibility and Strength in Elderly Persons. Burapha Journal of Medicine, 4(1), 31-39. (In Thai)

Kasih Lee, J., Yoo, H. N., & Lee, B. H. (2017). Effects of augmented reality-based Otago exercise on balance, gait, and physical factors in elderly women to prevent falls: a randomized controlled trial. Journal of physical therapy science, 29(9), 1586-1589.

Lazdia, W., Amelia, S., & Silviani, S. (2018). Balance Exercise To Postural Balance in Elderly At Ptsw Kasih Sayang Ibu, Batusangkar. Indonesian Nursing Journal of Education and Clinic, 1(2), 117-121.

Lertsinthai, P., Kaewmalaithip, A., Piriyayotha, S., & Muneesawang, P. (2020). Short Term Effects of Exercise Training by Assistive Teaching Exercise Program with Kinect Camera for Elderly on Balance Disorder Condition. Royal Thai Army Medical Journal, 73(2), 113-123. (In Thai)

Mahaprom, T., Monkong, S. & Wongvatunyu, S. (2017). Tai Chi Practice and Its Impact on Elderly People’s Balance. Thai Journal of Nursing Council, 32(3), 50-65. (In Thai)

Maneesub, Y., Sereekittikul, J., Nerunchorn, N., & Krajaengjang, T. (2019). Model of Fall Prevention in The Elderly by Nine-Square Exercise.The Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medical Education Center, 36(3), 236-244. (In Thai)

Niyomsat, Y., Nawanantawong, W., Keawampai, P., Phinyo,P., Kongchana, M., Siriwong, P.,et al. Effects of Ram Wong Conga Exercise on Physical FitnessAmong Older Persons in Nakhon Ratchasima. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 16(2), 437-453. (In Thai)

Sukjit, S., Thuwakum, W., Boonmuang, K., Chomphu, K., & Ngampring, K. (2021). Effect of Line Dance Exercise on Physical Performance and Balance Ability in Older Adults. Nursing Science Journal of Thailand, 39(4), 1-12. (In Thai)

Sukmee, K., Khongprasert, S., & Laohapakdee, R. (2020). The effect of muay thai exercise on balance and flexibility in thai elderly. Journal of Sports Science and Health, 21(3), 432-445. (In Thai)

Suwannapas, R. (2021). Effects of Mai Yued Yoon Exercise Program on Health Related Physical Fitness and Movement Ability in The Elderly. Journal of Sports Science and Health, 22(1), 120-135. (In Thai)

Thipsang. S. (2020). Stabilization or balance of balance. Retrieved 29 January 2020, from https://www.scimath.org/article-science/item

Vejapaesya. C. (1997). Physiology of Elderly. Bangkok: P.B. Foreion Book Centre Limited Partnership.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-22