ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการควบคุมภาวะอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พัชรี ชูกันหอม วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุชาดา บุญธรรม วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุวรรณี แสงอาทิตย์ วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมควบคุมภาวะอ้วน, นักเรียนชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมควบคุมภาวะอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลเชิงปริมาณสุ่มจากเด็กนักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ที่มีภาวะอ้วน จำนวน 104 คน (จากจำนวนประชากร 703 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล  แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมควบคุมภาวะอ้วน ตรวจสอบความเที่ยงด้วยค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยภาพรวมเท่ากับ .86 มีค่าคูเดอร์ริชาร์ดสัน-20 ของแบบทดสอบด้านความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพเท่ากับ .80 และแบบสอบถามพฤติกรรมควบคุมภาวะอ้วนเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 20 คนประกอบไปด้วยผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตัวแทนครูโรงเรียนประถมศึกษา ตัวแทนผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีภาวะอ้วนส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับไม่เพียงพอ คิดเป็น ร้อยละ 65.39 พฤติกรรมการควบคุมภาวะอ้วนอยู่ในระดับพอใช้ได้คิดเป็นร้อยละ 63.46  รองลงมา คือ ระดับไม่ดีพอ คิดเป็นร้อยละ 34.62  ผลการวิจัยเชิงคุณภาพพบ 3 ประเด็นหลักคือ 1) รับรู้ว่าอ้วนแล้วเสี่ยง พยายามหลีกเลี่ยงแต่ทำไม่ได้ 2) ความไม่สมดุลของการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย และ 3) ขาดการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพถูกต้อง

ข้อเสนอแนะ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และโรงเรียนสามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจทางสุขภาพ การเข้าถึงข้อมูลและบริการ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพตนเอง การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ และพฤติกรรมการควบคุมภาวะอ้วนโดยเฉพาะการจัดโครงการกิจกรรมฝึกทักษะเด็กเกี่ยวกับพฤติกรรมที่สมดุลของการรับประทานอาหารและออกกำลังกาย

References

Amornsriwatanakul, A. et al., (2016). Thailand 2016 report card on physical activity for children and youth. Nonthaburi: Green Apple Graphic Printing. (in Thai)

Bureau of Nutrition, Department of Health, Ministry of Public Health. (1999). Manual to using height and weight criteria for assessing the growth of Thai children. Bangkok: The War Veterans Organization of Thailand. (In Thai)

Clarke, V., & Braun, V. (2013). Teaching thematic analysis: Overcoming challenges and developing strategies for effective learning. The Psychologist, 26(2), 120-123.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Sciences. (2nd ed.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Crossland, J. (2016). Optimal learning in schools - theoretical evidence: Part 1 Piaget’s theoretical background. School Science Review, 98(363), 115-122.

Department of Health, Ministry of Public Health. (2019). Survey of Health Literacy and Desired Health Behaviors in School-aged Children, 2019. Nonthaburi: Department of Health Ministry of Public Health. (In Thai)

Department of health, Ministry of Public Health. (2021). Retrieved October 20, 2022 from https://hp.anamai.moph.go.th/th/ewt-news-php-nid-1532/193576. (In Thai)

Health education division. (2014). Retrieved March 12, 2024, from https://hp.anamai.moph.go.th/web-upload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/tinymce/OPDC/OPDC2563-F/IDC1_3/opdc_2563_IDC1-3_05.pdf (In Thai)

Health Data Center, Ministry of Public Health. (2023). Retrieved December 30, 2023, from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

Kalpakdee, W., Kehanak, K., Srimaksuk, K., Srisodsaluk, P. (2022). Health literacy about overnutrition in elementary school students under the municipal administration of Mueang District, Suphanburi Province. Lanna Public Health Journal, 18(1), 80-91. (In Thai)

Kittiboonthawa P, Chernchum J, Cheutong S. (2023). Health literacy and health behaviors of School-aged children. Journal of MCU Social Development, 7(2): 71-84. (In Thai)

Lemeshow,S., Hosmer, D.W., Klar, J., Lwanga, S.K., & World Health Organization. (1990). Adequacy of sample size in health studies. Retrieved September 2, 2022, from https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/41607/0471925179_eng. pdf?sequence=1&isAllowed=y.

Lincoln, Y.S., & Guba, E. (1985). Naturalistic Inquiry. Sage.

Nongrak, J. (2021). Health behaviors and health literacy among school-aged children in the subdistrict model of integrated health promotion and environmental health, Health Region 5. Retrieved December 10, 2022, from https://hpc.go.th/rcenter/index.php?mode=viewrecord&mid=20210716183439_4557 (In Thai)

Nutbeam, D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promotion International, 15(3), 259–267.

Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). Good health and well-being. [Retrieved September 22, 2022, from http://nscr.nesdc.go.th/wpcontent/uploads/2021/12/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88-13_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0.pdf (In Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2021). National Strategy 2021. Retrieved September 12, 2022, from https://pub.nstda.or.th/gov-dx/wp-content/uploads/2021/09/T_000111.pdf (In Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2023). The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Retrieved August 2, 2022, from https://data.opendevelopmentmekong.net /dataset/edbdae42-0d8b-475f-ab9e-402fd34095f6/resource/221befc5-3058-402a-9d31-279ac5bba4ec/download/nesdp_12th_th_article_20170202134836.pdf (In Thai)

Promsalee, S., & Kanjanasing, S. (2023). The factors related to health literacy of school-aged in health regional 6. Retrieved September 22, 2022, from http://do6.new.hss.moph.go.th:8080/fileupload_doc/2022-02-28-7-22-4473606.pdf (In Thai)

Punnawit, C., & Thongthep, S. (2020). Health literacy and health behaviors according to national health recommendations among students aged 10-14 years old in Chaloem Phra Kiat district, Nakhon Si Thammarat province. Journal of Allied Health Sciences Suan Sunandha Rajabhat University, 5(1); 26-36. (In Thai)

Sirikulchayanonta, C. (2015). Obesity in school-aged children from practice to community. 2nd ed. Bangkok: Best Graphic Press. (in Thai)

Trongchitkarun, P. (2022). Obesity in children. Retrieved September 22, 2022, from https://www.gj.mahidol.ac.th/main/paediatric-knowledge/childhood-obesity/ (In Thai)

W.H.O. (2016). Report of the commission on ending childhood obesity. Geneva: WHO Document Production Services.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-15