ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุต่อความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุ ของผู้ดูแลในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ พันธ์ประทุม กลุ่มงานการพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้สูงอายุ, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิดตัวอย่างกลุ่มเดียว วัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้สูงอายุในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 35 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คือ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน พบว่า มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประกอบด้วย 1)แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2)แบบประเมินทักษะการดูแลสุขภาพของผู้ดูแลผู้สูงอายุ  3)แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ดูแล แบบเก็บรวบรวมข้อมูลทั้ง 3 ฉบับหาความตรงเชิงเนื้อหาโดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ประเมินดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์การวิจัย พบว่า ทั้ง 3 ชุด มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์มากกว่า .67 ทุกข้อ ค่าความเที่ยงของแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ด้วยสูตรคูเดอร์-ริชาร์ดสัน 21 ได้ .66 หาค่าความเที่ยงของแบบประเมินทักษะการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและแบบประเมินความพึงพอใจ ใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค ได้เท่ากับ .78  และ .84 ตามลำดับทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ และสถิติการทดสอบค่าเฉลี่ยของตัวแปร 2 กลุ่มที่มีความสัมพันธ์กัน

ผลการศึกษา พบว่าความรู้และทักษะการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุในหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01  

References

Best, J. W. (1977). Research in education. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall Inc.

Eamsamai, S. Mhuansit, R., & Thongmag, R. (2010). An Elderly care model among caregiving volunteers at Phukrang Municipality, Amphur Praputthabat, Saraburi Province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 22(3), 77-87. (in Thai)

Eliopoulos, C. (2005). Gerontological nursing (11th ed.). Philadelphia: Lippincott William & Wilkins.

Khamsuchart. S (2016). Problem and health need of Thai elderly: The Proposed policy. Public Health Academic Journal, 26(6), 1156-1164.

National Health Security office. (2014). Long Term Care of care in Community Manual in National Health Security office, 2014 fiscal year. (in Thai)

Public Health Ministry. (2015). Strategy plan of Public Health Ministry, 2015. Retrieved June 20, 2004, from

http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/mophplan_2559_final_0.pdf

Prachubmeae, V., Chayowan, N., Wongsit, M., Siriboon, S., Suwanrada, V, Phosiri, V, & other. (2011). Review and synthesis knowledge of Thai Elderly 2000-2005. Bangkok: Research and Thai Elderly Foundation. (in Thai)

Research and Thai Elderly Foundation. (2017). Situation of the Thai Elderly, 2017. Retrieved June 20, 2004, from https://thaitgri.org/?p=38670 (in Thai)

Research and Thai Elderly Foundation. (2021). Situation of The Thai Elderly, 2021. Retrieved June 20, 2004, from https://thaitgri.org/?p=39772 (in Thai)

Robrujen, S. (2016). Development of the elderly care model for elderly caregivers, Warinchamrab District, Ubon Ratchathani Province. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 9(2), 57-69. (in Thai)

Srinonprasert, V. (2013). Guideline for geriatric syndromes. Bangkok: Brus Inaugus Ltd. (in Thai)

Thai Ageing Research and Development Foundation. (2018). Thai ageing situation report, 2018. Retrieved April 15, 2018, from https://thaitgri.org/?p=38670

Wutikorn, K., Wirunrach, B. & Suwanbon, I. (2015). Competency Development Pattern for Elderly Caregiver. Unpublished doctoral dissertation, Burapha University. Chonburi. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21