ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการติดตามด้วยแอปพลิเคชันไลน์ ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และระดับน้ำตาลในเลือด ของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
คำสำคัญ:
โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, สตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์, แอปพลิเคชันไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการติดตามด้วยแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลงกาย และระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีที่มาฝากครรภ์หรือใช้บริการที่ห้องฝากครรภ์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี จำนวน 30 ราย เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการติดตามด้วยแอปพลิเคชันไลน์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แบบวัดพฤติกรรมการออกกำลังกาย ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .86 และ .88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าทีแบบสัมพันธ์กัน
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นหลังใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการติดตามด้วยแอปพลิเคชันไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<.01) และระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ลดลงหลังใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการติดตามด้วยแอปพลิเคชันไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<.01) ดังนั้น พยาบาลผดุงครรภ์สามารถนำโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการติดตามทางแอปพลิเคชันไลน์ไปใช้ในการให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้
References
Adams KM, UH.,Nelson RL.Ogbum Plr.Denilenko-Dixon Dr. (1998). Sequelae of unrecognized gestational diabetes. Am J Bostet Gyneco, 176, 1321-32
Bandura. (1986). Social foundation of thought and action: A Social cognitive theory. Englewood Cliffe, NJ: Printice-Hall.
Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall.
Ewers B, Bruun J, Vilsbøll, T. (2019). Effects of basic carbohydrate counting versus standard out-patient nutritional education (The BCC Study): intervention study focusing on HbA1c and glucose variability in patients with type 2 diabetes. BMJ Open, 9, 1-9.
Homchui, P., Wanaratvijid., C & Pratoomsoot, C. (2020). Effect of Self-Management Support for Self-Care Behavior and Blood Glucose Level in Patients with Type 2 Diabetes Mellitus. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 12(1), 240-254.
Kanfer FH, Gaelick-Bays L. (1991). Self-management method. In FH Kanfer, AP Goldsteinn, editors. Helping People change: a textbook of methods. 4th ed. New York: Pergamon press.
Kuljitjearnvong, S. (2013). LINE: Social Media on SMATR PHONE. form https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/oct_dec_13/pdf/aw05.pdf
Mellitus at Maharat Nakhon Ratchasima Hospital. Thai Journal of Obstetrics and Gynecology, 22, 81-87.
Skar JB, Garnweidner-Holme LM, Lukasse M, Terragni L. (2018). Women's experiences with using a smartphone app (the Pregnant+ app) to manage gestational diabetes mellitus in a randomized controlled trial. Midwifery, 58: 102-108. doi: 10.1016/j.midw. 2017.12.021.
Sitkulanan, P, Kumtip., P. (2022). Impact of a Self-Management Programmed Monitored through the Application LINE on Eating Behavior, Arm-Swing Exercise Behavior, and Blood Glucose Levels in Women with Gestational Diabetes Mellitus. Journal of Thailand Nursing and Midwifery. 35(2), 52-69.
Srisawat, K., Sikaow, O., (2014). Management for Gestational Diabetes Mellitus. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(2), 50-59.
Srithongluang S., Siriarunrat, S. & Tachasuksri, S. (2019). Effects of Self-Regulation Program on weight Control Behavior and Normal Gestational Weight Gain Based among Pregnant Women with Overweight or Obsess before Pregnancy. Journal of Nursing and Health Care, 37(4), 52-61.
Suwanpakdee, W, Youngwanichsetha, S,. & Shunuan., S (2019). Effects of a Self-Efficacy Enhancement Program on Dietary and Exercise Behaviors among Pregnant Women with Gestational Diabetes Mellitus The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 6(1), 39-50.
Polit D F, Beck C T. (2012). Nursing research: Principles and methods.(9th ed.). Philadelphia, PA: Lippincott.)
Warunpitikul, R., Aswakul, O. (2014). The Incidence of Diabetes Mellitus in Pregnant Women and its Outcomes Between Pregnant Women with Diabetes Mellitus and Non- Diabetes Wang N, Deng Z, Wen LM, Ding Y, He G. (2019). Understanding the Use of Smartphone Apps for Health Information Among Pregnant Chinese Women: Mixed Methods Study. JMIR. health Uhealth, 7(6):e12631.doi: 10.2196/12631.
ZhuY, Zhang C. (2016). Prevalenceof gestational diabetes and riskof progression totype 2 diabetes: a global perspective. Current Diabetes Reports ,16(1):7. doi: 10.1007/s11892-015-0699-x
Zurawska-Klisl, M., Kosinskil, M., Wender-Ozegowska, E., Bartyzel, L., Matysiak, E., Olak-Bialon, B., et al. (2016). Obstetric Results of the Multicenter, Nationwide, Scientific-Educational Program for Pregnant Women with Gestational Diabetes Mellitus (GDM). Ginekologia Polska, 8, 651–658.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว