กรณีศึกษา: การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคลมชัก

ผู้แต่ง

  • กนกอร ศรีสัมพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • วลีรัตน์ แตรตุลาการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • จุฬารัตน์ ห้าวหาญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

หญิงตั้งครรภ์, โรคลมชัก, การพยาบาล

บทคัดย่อ

หญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคลมชักหรือโรคลมบ้าหมูนับว่าเป็นการตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง พยาบาลและผดุงครรภ์เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคลมชักและทารกในครรภ์เกิดภาวะแทรกซ้อน ประการสำคัญในการให้การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคลมชักคือการให้คำปรึกษาก่อนตั้งครรภ์ การให้ความรู้ที่ถูกต้องจะทำให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคลมชักมีความรู้ ทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถปฏิบัติตัวได้ถูกต้อง เกิดการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะคลอด ระยะหลังคลอด และการเลี้ยงดูบุตร ทฤษฎีทางการพยาบาลของโอเรมเป็นทฤษฎีที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองและตอบสนองต่อความพร่องในการดูแลตนเอง ดังนั้นพยาบาลและผดุงครรภ์ที่ให้การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีโรคลมชักจึงสามารถบูรณาการองค์ความรู้จากทฤษฎีมาใช้ในการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ได้

          กรณีศึกษาเป็นหญิงตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 ให้ประวัติรับการรักษาอาการชักโดยหยุดยากันชักเอง ไม่ได้วางแผนการตั้งครรภ์ มาฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ได้ 13+1 สัปดาห์ พยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลโดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความสามารถในการดูแลตนเอง ความต้องการในการดูแลตนเอง รวมทั้งปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง หลังจากนั้นพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถกับความต้องการการดูแลตนเองเพื่อบ่งชี้ถึงภาวะพร่องในการดูแลตนเอง กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ให้การพยาบาล และประเมินผลการพยาบาล พบว่าหญิงตั้งครรภ์รายนี้คลอดครบกำหนด ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทั้งในระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด

References

Aunwong, K. (Ed.). (2016). Clinical practice guidelines for epilepsy. Bangkok, Tanapress. (In Thai).

Aydin, E. & Beksac, M.S. (2020). Retrospective evaluation of pregnancy outcomes with maternal epilepsy. Journal of Clinical Obstetrics & Gynecology. 30(1), 20-25.

Bangshaw, J. (2008). Women with epilepsy and pregnancy: from preconception to the postnatal period. British Journal of Neurosceince Nursing, 4(11), 532-537.

Chahed, S., Bannour, B, Bannour I, Messaoudi, A, Khairi, H. (2021). Pregnancy and epilepsy: a retrospective study of 100 pregnancies. European Journal of Public Health. 31(supplement 3), iii550.

Chen, D., Hou, L., Duan, X., Peng, H., Peng, B. (2017). Effect of epilepsy in pregnancy on fetal growth restriction: a systematic review and meta-analysis. Arch Gynecol Obstet, 296, 421-427.

Coker, D. (2008). Managing pregnancy in women with epilepsy. Practice Nursing, 19(12), 615-619.

Doyle, L., Geraghty, S., Folan, M. (2016). Epilepsy in pregnancy: Pharmacodynamics and pharmacokinetics. British Journal of Midwifery. 24(12), 830-835.

Firoz, T., Pineles, B., Navrange, N., Grimshaw. A., oladapo, O., Chou, D. (2022). Non-communicable diseases and maternal health: a scoping review. BMC Pregnancy and Childbirth, 22(1), 787. https://doi.org/10.1186/s12884-022-05047-6

Harden, C.L., et al. (2010). Management issues for women with epilepsy-focus on pregnancy. Neurology, 74(2), 2010, pp. 142-149.

Homphet, P., Kongsap, P., Sanbandit, N. (2023). Effectiveness of the discharge planning model for maternal methamphetamine abuse on knowledge and behavior in postpartum self-care, readmit and relapse in a tertiary care hospital. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 26(1), 12-15.

Li, Y., & Meador, K. J. (2022). Epilepsy and pregnancy. CONTINUUM: Lifelong Learning in Neurology, 28(1), 34-54.

Morley, K. (2018). Epilepsy in pregnancy: The role of the midwife in risk management. British Journal of Midwifery (26)9: 564-573.

Tiamkao, S. & Tiamkao, S. (2021). Consideration for safety in using anticonvulsants generic name levetiracetam per oral. Thai Journal of Neurology, 37(1), 1-8. (In Thai).

Tomson, T., et al. (2007). Therapeutic monitoring of antiepileptic drugs for epilepsy. Cochrane Database of Systematic Reviews, no. 1.

Veiby, G., et al. (2015). Intake of antiepileptic drugs in pregnancy: changes over a 30-year period. Acta Neurologica Scandinavica, 132(1) 2015: 49-56.

Yip, J.Y.C. (2021). Theory-based advanced nursing practice: A practice update on the application of Orem’s self-care deficit nursing theory. SAGE Open Nursing, 7: 23779608211011993. https://doi.org/10.1177/23779608211011993

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30