โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) เพื่อติดตามรักษาอาการ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ:
การรับรู้สมรรถนะแห่งตนเอง, เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม, การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรมเพื่อติดตามรักษาอาการผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเคียนซา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในคลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเคียนซา จำนวน 70 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน 1) เครื่องมือในการทดลอง คือ โปรแกรมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม (Telemedicine) เพื่อติดตามรักษาอาการผู้ป่วยโรคเบาหวาน คลินิกโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม แบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน แบบสอบถามข้อมูลระดับน้ำตาลในเลือด ผ่านการตรวจความตรงทางเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือ โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .795 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติแบบสัมพันธ์ (pair t -test) และการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการทดลอง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มทดลอง มีระดับคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรม อยู่ในระดับมากที่สุดซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเองในการใช้เทคโนโลยีระบบโทรเวชกรรมอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 2) หลังการทดลองผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอยู่ในระดับมาก ซึ่งสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3) หลังการทดลองผู้ป่วยโรคเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 170.37 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่มีระดับน้ำตาลในเลือดเฉลี่ย 179.51 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)
References
Bangkok Health Research Center. (2023). Telemedicine (Telemedicine) in the 21st century. Bangkok Health Research Center.
Bandura, A. (1977). Social learning theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Khian Sa Hospital. (2023). Report on the situation of diabetes patients in 2023. Surat Thani: Khiansa Hospital Suratthani Province.
Laoprasit, P. (2023). Development of a care-model for diabetic patients Unable to control blood sugar levels in community hospitals and networks. Medical journal District 11, 37(1), 29-45. (in Thai)
Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Fishbeic, Martin, Ed. New York: Wiley & Son.
Phanichdee, N. (2023, May-August). Development of a specialized telemedicine clinic service system Disease (Telemedicine) Kalasin Hospital. Nursing academic journal and Health sciences, 3(2), 127-142. (in Thai)
SCB TV. (2020). “Health is WEALTH The Series” Episode 4. How does medical technology change the perspective of health care? By Dr. Kawirat Tantiwong. Retrieved October 20, 2023. from https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/protect-my-family/telemedicine.html
Wiriyapong, P. (2021t). Using telemedicine to support diabetes care. Type 2. Medical and health science journals, 28(2), 165-177. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว