การวิเคราะห์องค์ประกอบการรู้ดิจิทัลของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 12
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบ, การรู้ดิจิทัล, โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตสุขภาพที่ 12บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและระดับของการรู้ดิจิทัลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ เขตสุขภาพที่12 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์จำนวน 3 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลตรัง โรงพยาบาลยะลาและโรงพยาบาลหาดใหญ่จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคล และส่วนที่ 2 แบบสอบถามการรู้ดิจิทัลของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 และค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีPrincipal Axis Factoring และหมุนแกนแบบPromaxผลการวิจัยพบว่า
1) องค์ประกอบการรู้ดิจิทัลของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ เขตสุขภาพที่12 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์และการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ 2) ความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพการพยาบาล 3) การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย และ 4) การสื่อสาร และการทำงานร่วมกัน โดยร่วมกันอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 66.166
2) พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในโรงพยาบาลศูนย์ ในเขตสุขภาพที่12 มีระดับของการรู้ดิจิทัลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=3.67 , SD.=0.63 ) และในรายด้านแต่ละด้านก็อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยพบว่า ระดับการรู้ดิจิทัลที่มีระดับสูงที่สุดคือ ด้านการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก (Mean=3.83, SD.=0.66) รองลงมาคือ ด้านการสื่อสารและการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับมาก (Mean=3.80, SD.=0.63) ส่วนด้านความสามารถที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพการพยาบาลอยู่ในระดับมาก (Mean=3.53, SD.=0.64) และด้านความสามารถในการใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์และการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก (Mean=3.50, SD.=0.57) ตามลำดับ
References
Brown, J., Pope, N., Bosco, A.M., Mason, J., & Morgan, A. (2020). Issues affecting nurses' capability to use digital technology at work: An integrative review. Journal of Clinical Nursing. 2020, 29(15-16), 1-19. https://doi.org/10.1111/jocn.15321
DeVellis, R. (2012). Scale Development Theory and Applications. New York: Sage Publications.
Makornsan, C., Sangruam, S., & Aunburi, S. (2012). Medical Service profile 2011-2014. Bangkok: Ministry of Public Health. (In Thai)
Nes, A.A., Steindal, S.A., Larsen, M.H., Heer, H.C., Laerum-Onsager, E.& Gjevjon, E.R. (2021). Technological literacy in nursing education: A scoping review. Journal of Professional Nursing, 37, 320-334.
Nursing Division of Ministry of Public Health Thailand. (2022). Guideline for Nursing service quality indicators 2022. Nonthaburi: Author (In Thai)
Nursing Quality Improvement and Informatics Unit. (2024). Nursing care: job description of nursing quality improvement and informatics unit. Retrieved February 28, 2024, from http://www.nurse.kku.ac.th (In Thai)
Office of the Civil Service Commission. (2017). Guideline for development digital literacy skill. Nonthaburi: Author. (In Thai)
Pinpateep, P. (2019). Guideline for resolving inequality in Public Health. Retrieved April 5, 2022, from https://www.csdi.or.th/2019/09/health-disparities-8/ (In Thai)
Pitaksang, A., Poyen, C., Namtap, C., Chimcharong, R., Panyawong, T., Leikmonkol, W., & Louhasuwanpanish, S. (2023). Digital Literacy among Nurses Working in a University Hospital . Journal of Thailand Nursing and Midwifery Council, 38(2), 38-48. (In Thai)
Silanoi, L. (2017). How to use the appropriate statistical formulas for determining the sample size for Quantitative Research Designs in the Humanities and Social Science Study. Journal of Research and Development Buriram Rajabhat University, 12(2), 50-61. (In Thai)
Strategy and Information Group, 12th Public Health Region. (2021). Strategic Plan, (2021-2023). Retrieved January 1, 2023, from www.rh12.moph.go.th (In Thai)
Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. (2021). Number of health personnel in regional hospitals, by network health service, province in report on public health resource. Retrieved January 1, 2023, from https://spd.moph.go.th (In Thai)
Strategy and Planning Division, Ministry of Public Health. (2022). Health KPI 2023 (2nd ed.) Retrieved January 1, 2023, from https://healthkpi.moph.go.th (In Thai)
Subcommittee of Strategy and Information. (2020). Development plan of 12th Public Health Region, fiscal year 2020. Retrieved February 28, 2024, from www.rh12.moph.go.th
Teansawad, S. (2020). Instrument Development for Nursing Research. (Edition2) (pp. 151-171). Chiang Mai: Siampimnana company (In Thai)
Terry J., Davies A., Williams, C., Tait, S. ,& Condon., L.(2019). Improving the digital literacy competence of nursing and midwifery students: A qualitative study of the experiences of NICE student champions. Nurse Education in Practice, 34, 192-198
The Building a Digital Ready Workforce (BDRW) Program and Health Education England’s Technology Enhanced Learning Programme. (2017). A Health and Care Digital Capabilities Framework. Retrieved October 10, 2021, from https://www.hee.nhs.uk
The Constitution of the United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). (2018). A Global Framework of Reference on Digital Literacy Skills for Indicator 4.4.2 Retrieved October 10, 2021, from http://www.unesco.org/open-access/terms-use-ccbysa-en
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว