รูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ณัฐฎา สุรณัฐกุล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา

คำสำคัญ:

รูปแบบการขับเคลื่อน, มาตรฐานความปลอดภัยด้านยา, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาเพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ สร้างรูปแบบและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดสงขลา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัญหาและความต้องการการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ เภสัชกร จำนวน 80 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ระยะที่ 2  นำข้อมูลจากระยะที่ 1 มาสร้างรูปแบบ ระยะที่ 3 ประเมินรูปแบบโดยวิธีการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงพยาบาลชุมชนจังหวัดสงขลา 15 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการดำเนินงานตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา ได้แก่ นโยบายสู่ผู้ปฏิบัติและการกำกับติดตามไม่ต่อเนื่อง งบประมาณไม่เพียงพอ ขาดความร่วมมือของสหวิชาชีพ อัตรากำลังไม่เพียงพอ ยาขาด ไม่มีคู่มือ/แนวปฏิบัติความปลอดภัยด้านยา ขาดการเชื่อมต่อข้อมูล ไม่มีระบบการตรวจสอบ ความคลาดเคลื่อนในการจ่ายยา ส่วนความต้องการการดำเนินงาน ได้แก่ จัดศูนย์กระจายยา จัดตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด นวัตกรรม จัดสรรอัตรากำลัง ระบบการนิเทศติดตาม พัฒนาศักยภาพของบุคลากร จัดสรรงบประมาณ ระบบเทคโนโลยี ลดภาระงานด้านเอกสาร การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนรู้ มีระบบการให้คำปรึกษา 2) รูปแบบ คือ 5C3SDTI ได้แก่ 1) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน 2) จัดทำปฏิทินการดำเนินงาน 3) สร้างช่องทางการประสานงาน 4) เลือกโรงพยาบาลต้นแบบ 5) สร้างเกณฑ์มาตรฐานให้ชัดเจน 6) พัฒนาการให้คำปรึกษา 7) ตั้งคณะกรรมการนิเทศ 8) จัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยน 9) พัฒนาบุคลากรและระบบบริหารเวชภัณฑ์คลังยาของ รพ.สต. 10) นำเทคโนโลยีมาใช้ และ 11) สร้างนวัตกรรม และ 3) หลังใช้รูปแบบคะแนนตามมาตรฐานความปลอดภัยด้านยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นรูปแบบ 5C3SDTI สามารถใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนโรงพยาบาลชุมชนโดยการวางแผนและดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม

References

Houston, S. (2024). 4MS of Operations Management. Retrieved June 6, 2024 from https://www.milliken.com/en-us/businesses/performance-solutions-by-milliken/blogs/4ms-of-operations-management

Khamsan, A., Wongpalee, S., Issarachote, J. (2024). The development of the pharmaceutical information system to drive the improvement of the quality the pharmaceutical system in Lamphun Hospital 2015-2019. Journal of Health Consumer Protection, 3(1), 33-51.

Mateeapiruk, P. (2017). The Analyze the Performance in Accordance with the Pharmaceutical Standards in Primary Care Unit (PCU), Songkhla Province. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 153-170.

Maxwell, S. R. J. & Webb, D. J. (2019). Improving medication safety: focus on prescribers and systems. The Lancet, 394(10195), 283-285. doi.org/10.1016/S0140-6736(19)31526-0

Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2022). Rational Drug Use Community: RDU Community. Nonthaburi: Health Administration Division.

Pharmacy and Therapeutics Committee Medicine System Committee. (2023). Minutes of the Pharmacy and Therapeutics Committee Meeting. Pharmacy and Therapeutics Committee

Public Health Administration Division, Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2022). Drug safety standard assessment form In hospitals under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health New revised edition 2022. Nontaburi: Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health

Rich, D. S. (2004.) New JCAHO medication management standards for 2004. Am J Heath-Syst Pharm. 61(13), 1349-1358.

Standards Assessment Working Group Drug safety, Songkhla Province. (2022). Meeting Report of the Working Group for The Development of the Pharmaceutical and Consumer Protection Public Health Service System, Songkhla Province. Songkhla Health Office Province.

Seeha, A., Saksiri, W. (2023). Development of a Drug Safety Surveillance Model in Grocery Stores in Kamalasai District, Kalasin Province. Research and Development Health System Journal, 15(1), 304-317.

Working group to evaluate drug safety standards in Songkhla Province. (2022). Data report summarizing lessons learned from the assessment of drug safety standards in community hospitals in Songkhla Province in 2022. Songkhla: Songkhla Provincial Public Health Office.

World Health Organization. (2024). Patients for Patient Safety. Retrieved June 22, 2024 from https://www.who.int/initiatives/patients-for-patient-safety

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-09