นวัตกรรม 7 สี ปันรัก ไกลโรคความดันโลหิตสูง
คำสำคัญ:
นวัตกรรม, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานวัตกรรมการให้ความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลสุขภาพตามแนวคิดปิงปองจราจร 7 สี ศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลสุขภาพตามแนวคิดปิงปองจราจร 7 สีก่อนและหลังการได้รับการใช้นวัตกรรม 7 สี ปันรัก ไกลโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงศึกษาระดับความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการใช้นวัตกรรม 7 สี ปันรัก ไกลโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่มาใช้บริการในศูนย์สุขภาพเมืองชุมชน โพหวาย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ นวัตกรรม 7 สี ปันรัก ไกลโรคความดันโลหิตสูง แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลสุขภาพตามแนวคิดปิงปองจราจร 7 สี และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม 7 สี ปันรัก ไกลโรคความดันโลหิตสูง หาความเชื่อมั่น โดยแบบสอบถามความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลสุขภาพตามแนวคิดปิงปองจราจร 7 สี หาค่าคูเดอร์ ริชาร์ดสัน-21 ได้ .82 และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรม ตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบสัมพันธ์
ผลการศึกษา พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลสุขภาพหลังใช้นวัตกรรมสูงกว่าก่อนใช้นวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจต่อการใช้นวัตกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean=4.76, SD.= .25) ข้อรายการที่มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงสุด คือ นวัตกรรมสามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้จริง (Mean=4.87, SD.= .34) และน้อยที่สุดคือ นวัตกรรมสามารถทำให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับปิงปองจราจร 7สี มากขึ้น (Mean=4.67, SD.= .44) และนวัตกรรมมีความแข็งแรง (Mean=4.67, SD.= .47)
References
Ayoh, N., Sittisart, V. & Wichian, S.N. (2022). The effectiveness of health promoting program on behavior modification based on PBRI’s model for patient with hypertension in Samokhae Sub-district, Mueang District, Phitsanulok Province. The Journal of Boromarjonani of Nursing Suphanburi, 5(2), 129-139. (in Thai)
Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.
Chuntaravichit, K. (2023). Evaluation of the Implementation of the Surveillance, Prevention, Control, Diabetes and Hypertension with Vichai 7 Colors Model Singburi Province by CIPP Model. Thai Journal of Public Health and Health Science: TJPHS. 6(2). 80-93. (in Thai)
Health Data Center. (16 November 2022). Rate of New Hypertension’s patients per hundred thousand population in fiscal year in Pho Wai Primary Care Unit, Mueang Surat Thani District, Surat Thani CE 2019 2022. from https://hdcservice.moph.go.th/ hdc/reports/report.php?&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=29eec762c9591d1f8092da14c7462361. (in Thai)
Health Data Center. (10 April 2023). Rate of New Hypertension’s patients per hundred thousand population CE 2019-2022. from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/ reports/report.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=29eec762c9591d1f8092da14c7462361. (in Thai)
Juwa, S., Wongwat, R., & Manoton, A. (2019). The effectiveness of the Health Behavior Change Program with 7 colors Ball Tool on Knowledge, Health Belief and Behavior Relate to the Prevention and Control of Hypertension and Diabetes Mellitus, in Maeka Sub-District, Muang District, Phayao Province. Songklanagarind Journal of Nursing, 39 (2), 127-141. (in Thai)
Karnjanapiboonwong, A., Khamwangsanga, P., & Kaewtha, S. (2020). Report on the situation of NCDs, Diabetes high blood pressure and risk factors that Related 2019. (1st ed.). from https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1035820201005073556.pdf. (in Thai)
Keawchandee, C. et al., (2023). Effectiveness of Health Promotion Program for Preventing Hypertension among Risk group. Lanna Public Health Journal, 19(1), 11-25. (in Thai)
Khamngoen, R., et al., (2023). The effectiveness of the Health Behavior Change Program based on PBRI’s model and 7 Colors Ball Tool on knowledge and health behavior of Nursing Students with overweight. Journal of Health Research and innovation. 6(2), 1-15. (in Thai)
Maneelert, C. (2021). Development of Application to screening Diabetes and Hypertension groups. Chiang Mai Rajabhat Research Journal, 22(3), 109-125. (in Thai)
McGriff, S.J. (2023). Wiki Educator “Free e-learning content. Retrieved June 23, 2011, from ADDIE Model Diagram. from http://wikieducator.org/File:ADDIE_model_diagram_by_ McGriff.gif
Murray, R. B. & Zentner, P. J. (1993). Nursing assessment and health promotion: Strategies through the life span (5th ed.) Norwalk, CT: Appleton & Lange.
Paterick, T. et al. (2017). Improving health outcomes through patient education and partnerships with patients. from https://www.tandfonline.com/doi/epdf/10.1080 /08998280.2017. 11929552? needAccess=true
Phattarasatjatum, P. (2016). Instructional System Design (ISD) by ADDIE Model: The Development of Metacognition of Nursing Student. Journal of Education Silapakorn University. 13(2), 6-17. (in Thai).
Sasang, U., Krongyuth, S. and Chananin, Y., (2022). Factors Associated with self-care Behaviors of Patients with Non-communicable Diseases. Journal of Nursing and Education 2022, 14(4), 45-68. (in Thai)
Tienthavorn, V. (2023). Surveillance,Control and Prevention System of DM and HT in Thailand : Policy to action. (3rd ed.) from https://kpo.moph.go.th/webkpo/tool /NCD_Policy2Action.pdf. (in Thai)
World Health Organization. (2023, December). Non-communicable diseases in South-East Asia:journeying towards the SDG target. from https://www.who.int/thailand/publications /m/item/non-communicable-diseases-in-south-east-asia--journeying-towards-the-sdg-target.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว